หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาชาญชัย ชุตินฺธโร (ราชไร่)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
วิเคราะห์หลักพุทธธรรมในวิมานวัตถุที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของ พุทธศาสนิกชน ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาชาญชัย ชุตินฺธโร (ราชไร่) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปลัดพรหมเรศ โชติวโร
  ปรีชาชาญ อินทรชิต
  อรอนงค์ วูวงศ์
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

            

 

             วิทยานิพนธ์ เรื่อง วิเคราะห์หลักพุทธธรรมในวิมานวัตถุที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของพุทธศาสนิกชน ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาเนื้อหาของวิมานวัตถุในพระสุตตันตปิฎก ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวิมานวัตถุที่เป็นเหตุให้ไปเกิดในวิมาน ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมตามที่ปรากฏในวิมานวัตถุที่    มีอิทธิพลต่อความเชื่อของพุทธศาสนิกชน ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ สรุปผลการศึกษามีดังนี้

 

 

             ผลการศึกษาเนื้อหาเบื้องต้นเกี่ยวกับวิมานวัตถุในพระสุตตันตปิฎก พบว่า วิมานวัตถุแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ประกอบด้วย อิตถีวิมานและปุริสวิมาน รวมแล้วมีจำนวน ๘๕ วิมาน และแบ่งย่อยออกเป็น ๗ วรรค คือ ปีฐวรรค มี ๑๗ วิมาน, จิตตลตาวรรค มี ๑๑ วิมาน , ปาริจฉัตตกวรรค มี ๑๐ วิมาน, มัญชิฎฐกวรรค มี ๑๒ วิมาน ( ๔ วรรคนี้ จัดอยู่ในอิตถีวิมาน คือวิมานของเทพธิดา ๕๐ วิมาน), มหารถวรรค  มี ๑๔ วิมาน, ปายาสิวรรค มี ๑๐ วิมาน, และสุนิกขิตตวรรค มี ๑๐ วิมาน    (๓ วรรคนี้ จัดอยู่ใน ปุริสวิมาน คือ วิมานของเทพบุตร ๓๕วิมาน) รวมเป็น ๘๕ วิมาน ส่วนหลักธรรมในวิมานวัตถุ พบว่า มีการให้ทาน การรักษาศีล การฟังธรรม การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เช่น ศรัทธาต่อพระรัตนตรัย การบูชาพระธาตุเจดียสถาน เป็นต้น วิมานวัตถุ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงการทำความดีของเหล่าเทวดาและเทพธิดาว่าในสมัยที่ตนเป็นมนุษย์ ได้ประกอบคุณงามความดีอะไรไว้บ้าง เช่น บางตนก็ให้ข้าวน้ำเป็นทาน บางตนก็ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

 

             ผลการศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวิมานวัตถุที่ถูกปฏิบัติเหตุให้ได้วิมาน พบว่า      ในวิมานวัตถุ มีหลักพุทธธรรมที่เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิตหลายข้อ ได้แก่ ปฏิสันถาร ๒ บุญกิริยาวัตถุ การดูแลบิดามารดา การบูชาบุคคลที่ควรบูชา อนุบุพพิกถา ๕ อริยสัจ ๔ พระรัตนตรัย ๓ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ และวัตตบท ๗ ประการ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดนี้ มีแทรกอยู่ในเรื่องเดียวกันและต่างเรื่องกันก็มี นอกจากนั้น พุทธธรรมในวิมานวัตถุยังเป็นประโยชน์ใน ๒ ด้าน คือ (๑) ประโยชน์ตน เช่น การเจริญภาวนามัยบุญสำเร็จด้วยกรเจริญภาวนาหรือปฏิบัติธรรม เจริญกรรมฐาน ๒ อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนา ย่อมทำให้บุคคลผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความสงบสุขแห่งจิตและทำให้จิตมีปัญญาสามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เพราะสภาพจิตมีความเข้มแข็งปรับตัวได้ดีและรู้เท่าทันต่อสภาวะของธรรมดาของโลก เช่น ความรัก ความชัง ความหลง ความตระหนี่ นินทา สุขเป็นต้น แล้วปฏิบัติให้เหมาะสมแก่สภาวธรรมนั้นๆ ที่ตนประสบอยู่ (๒) ประโยชน์สังคมคือ สังคมส่วนรวมได้รับอานิสงส์หรือประโยชน์จากการปฏิบัติของตน เช่น การบริจาคทานเป็นสาธารณประโยชน์ มีสร้างถนนหนทาง การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในยามพิบัติต่างๆ เช่นอุทกภัยภัยเกิดจากน้ำท่วม เป็นต้น

          ผลการศึกษาคุณค่าของหลักพุทธธรรมในวิมานวัตถุที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของพุทธศาสนิกชน ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า กลุ่มเป้าหมายสามารถที่จะเข้าใจหลักพุทธธรรมและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องได้ เช่น เป็นคนมีสติและสัมปชัญญะดียิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้ตนตกเป็นเหยื่อของการบริโภคนิยมและวัตถุนิยมจนเกินไม่รู้จักเศรษฐกิจพอเพียงพอประมาณตน นอกจากนั้น ยังพบว่า กลุ่มเป้าหมาย รู้จักคุณค่าของการทำสมาธิเพื่อให้มีจิตใจตั้งมั่นในการทำงาน รู้จักการต้อนรับแขกด้วยธรรมปฏิสันถาร เช่น การให้คำปรึกษา การแก้ไขปัญหาต่างๆ อีกทั้งต้อนรับด้วยวัตถุสิ่งของตามหลักบุญกิริยาวัตถุ เช่น รู้จักสามัคคีช่วยเหลือแก่สังคม เช่น ช่วยงานทำบุญบ้าน รู้จักคุณค่าของศีล รู้จักการบูชาบุคคลที่ควรบูชาและศาสนสถานที่ควรเคารพ รู้จักปฏิบัติตนตามหลักอนุปุพพิกถา เช่น รู้จักการพูดเรื่องโทษของกามและเรื่องการหาทางออกจากกาม รู้จักพูดถึงเรื่องสวรรค์ รู้จักคุณค่าของหลักพุทธธรรมที่บุคคลสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ตนและประโยชน์สังคม

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕