หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายไพโรจน์ ศุภทีปมงคล
 
เข้าชม : ๒๐๑๕๖ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของจิตตคหบดีอุบาสก ที่ปรากฏ ( ๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : นายไพโรจน์ ศุภทีปมงคล ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  นาย รังษี สุทนต์
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

                      วิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทของจิตตคหบดีอุบาสก ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา ศึกษาชีวประวัติความเป็นมาทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ ที่ทำให้จิตตคหบดีเป็นผู้มีคุณธรรมและปัญญาอันยอดยิ่ง สามารถบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลขั้นอนาคามี แม้ว่าจิตตคหบดีมีอาชีพเป็นพ่อค้าดำเนินชีวิตเป็นฆราวาส แต่มีความสามารถในการนำหลักธรรมออกเผยแผ่ ทำให้พุทธศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธา และเป็นที่ยำเกรงของเหล่าอัญเดียรถีร์ จิตตคหบดีเปรียบเหมือนเสาหลักของพระพุทธศาสนา วิธีการของการแสดงธรรมอันยอดยิ่ง ทำให้ท่านได้รับการแต่งตั้งจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เป็นเลิศในด้านธรรมกถึก


                      ผลการวิจัยพบว่า ในอดีตชาติจิตตคหบดีได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าปทุมุตตร และ
ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อความเป็นธรรมกถึก ในปัจจุบันชาติจิตตคหบดีได้ฟังธรรมของพระมหา
นามเถระได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน อันเป็นมูลเหตุให้ถวายสวนมะกอก เพื่อสร้างวัดอัมพาฏกาวันไว้สำหรับต้อนรับพระภิกษุจากทั่วทุกสารทิศ เมื่อจิตตคหบดีได้ฟังธรรมของพระสารีบุตรเถระก็ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี คุณธรรมที่โดดเด่นของจิตตคหบดีมี ๔ ประการได้แก่


๑. ทาน เป็นผู้ให้ทั้งอามิสทานและธรรมทาน
๒. ศีล เป็นผู้มีความประพฤติดีงาม
๓. สมาธิ เป็นผู้มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง
๔. ปัญญา เป็นผู้มีวิจารณญาณ


                   จิตตคหบดีอุบาสกได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในการแสดงธรรม (ธรรมกถึก) มีส่วนสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แสดงธรรมแก่พุทธบริษัทมิตรสหายตลอดถึงนักบวชในลัทธิอื่น (อัญเดียรถีย์) จิตตคหบดีอุบาสกเป็นแบบอย่างของชาวพุทธผู้ประพฤติดีงาม ปกป้องอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และเผยแผ่คำสอนจิตตคหบดีได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม คุณความดีของท่านพระพุทธองค์ได้ทรงยกย่องว่า “อุบาสกผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า
ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นตราชู เป็นประมาณแห่งอุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา”ดังนั้น อุบาสกและอุบาสิกาไม่ว่าในปัจจุบันหรืออนาคต ควรศึกษาบทบาทแล้วนำเอาคุณธรรมของจิตตคหบดีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพึงศึกษาหลักธรรมคำสอนแล้วน้อมมาช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบต่อไป

 

 

Download : 254943.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕