หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวีระศักดิ์ ชยธมฺโม (สุวรรณวงศ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๗ ครั้ง
แนวทางการจัดการวัดสันติสุขตามหลักสัปปายะ ๗ : กรณีศึกษาวัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระวีระศักดิ์ ชยธมฺโม (สุวรรณวงศ์) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
  อุทัย สติมั่น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการจัดการองค์กรสันติสุขตามหลักวิชาการทั่วไป ๒) เพื่อศึกษาการจัดการวัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) ตามหลักสัปปายะ ๗ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการวัดสันติสุขตามหลักสัปปายะ ๗ สำหรับวัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) และวัดหรือองค์กรอื่นๆ การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) เป็นเครื่องมือในการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดและทฤษฎีการจัดการวัดด้วยหลักสัปปายะนั้นหมายถึงการสร้างสภาพเอื้อที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการศึกษาปฏิบัติ ปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นอยู่ดีและการที่จะพัฒนาตน สิ่งที่เหมาะสมต่อการพัฒนาคนให้ได้ผลดี ช่วยให้ความเจริญตั้งมั่น ให้ความเจริญไม่เสื่อมถอย เกื้อหนุนสิ่งสถานที่หรือบุคคลซึ่งเป็นที่สบายเหมาะสมกันเกื้อกูลโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อหนุนการบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสติปัญญามี ๗ อย่าง คืออาวาสที่อยู่โคจรที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหารภัสสะเรื่องพูดคุยที่ส่งเสริมการปฏิบัติบุคคลผู้ที่อยู่ใกล้แล้วจิตผ่องใสสงบมั่นคงโภชนะอาหารอุตุอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมอิริยาบถเพื่อให้องค์กรเกิดความสงบและสันติสุข

วัดธารน้ำไหล(สวนโมกขพลาราม) ได้มีการจัดระบบการบริหารและการจัดการได้ให้ความสำคัญและเห็นด้วยกับแนวคิดการบริหารจัดการวัดตามหลักสัปปายะ ๗ ทั้งนี้ทางวัดได้ดำเนินการทั้ง ๗ แนวทาง กล่าวคือ ด้านอาวาส วัดได้เน้นสร้างเสนาสนะที่แฝงไปด้วยปริศนาธรรม มีรูปภาพ เป็นต้น ด้านโคจร วัดอยู่ติดกับถนนสายหลักของภาคใต้คือถนนสายเอเซีย การสัญจรไปมาจึงสะดวกสบาย มีหลายช่องทางในการเดินทางมาถึงวัด ด้านบุคคล วัดมีต้นแบบที่มีได้แก่มีหลวงพ่อพุทธทาสเป็นผู้นำในการพัฒนาตนเองให้เข้าถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านการพูดคุย วัดยึดหลักการพูดน้อยๆปฏิบัติเยอะๆและมีการเผยแผ่ธรรมะอย่างกว้างขวางหลายรูปแบบ มีเสียงและหนังสือ เป็นต้น ด้านอาหาร วัดมีโรงครัวที่จัดการเรื่องอาหาร ไม่มีการจัดทำอาหารพิเศษเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อเป็นการไม่ยึดติดในอาหาร ด้านอากาศ วัดมีลักษณะอากาศไม่ร้อนมาก ไม่หนาวมาก เหมาะสมแก่นักปฏิบัติอย่างยิ่ง ด้านอิริยาบถ วัดมีที่สำหรับปฏิบัติธรรมเฉพาะและยึดผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญเน้นเรื่องการเป็นอยู่แบบธรรมชาติ ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ดังนั้น จึงยืนยันได้ว่าวัดที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ศรัทธาของญาติโยม จะต้องดำเนินการบริหารจัดการให้ครบทั้ง ๗ แนวทาง

แนวทางการจัดการวัดสันติสุขตามหลักสัปปายะ ๗ สำหรับวัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) และวัดหรือองค์กรอื่นๆ ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดการวัดสันติสุขควรจัดการด้วยหลักสัปปายะ ๗ ให้เหมาะสมแก่การเป็นอยู่ร่วมกันและเหมาะสมแก่การประพฤติปฏิบัติธรรม ทั้งในด้านอาคารสถานที่ ด้านการบริหารจัดการการสัญจรทั้งภายในและภายนอกวัด ด้านการบริหารจัดการด้านการเผยแผ่ธรรม ด้านการบริหารจัดการด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการด้านอาหาร ด้านการบริหารจัดการด้านอากาศและสภาพแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการด้านกิจกรรมและโครงการ ทั้งนี้ ควรมีการวางแผน ควรมีการควบคุมดูแลและสั่งการ ควรกำหนดเป้าหมายและความคุ้มค่า และเหตุปัจจัยอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างการจัดการวัดให้เกิดสันติสุขต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕