หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วรินทร ทวีโชติชัยกุล
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
รูปแบบโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : วรินทร ทวีโชติชัยกุล ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดำเนิน)
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง)
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องการให้ทานและโรงทานในพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย และ
(๓) เพื่อวิเคราะห์การให้ทานผ่านโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า คำสอนเรื่องการให้ทานและโรงทานในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงยกย่องธรรมทานเลิศกว่า อามิสทาน เพราะธรรมทานจะให้แนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความเป็นอริยบุคคลได้ ขณะเดียวกันก็สอนอามิสทานในฐานะปัจจัยหล่อเลี่ยงชีวิตที่พระสงฆ์ได้ต้องรับจากคฤหัสถ์ ในการให้ทานนั้นสามารถให้ได้ทุกสถานที่ แต่ก็มีการกำหนดสถานที่ให้ทานเป็นการเฉพาะเรียกว่า โรงทาน ได้แก่ สถานที่สำหรับแจกจ่ายสิ่งของที่ใช้ในการดำรงชีวิตมีอาหารเป็นต้น

โรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ตั้งขึ้นตามค่านิยมของหลายภาคส่วน คือ (๑) พระพุทธ ศาสนา (๒) ศาลเจ้า โรงเจ (๓) หน่วยงานภาครัฐด้านสังคมสงเคราะห์ และ (๔) มูลนิธิจิตอาสา องค์กรอาสาสมัครภาคประชาชน มีการตั้งโรงทานในสังคมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จำแนกโรงทานได้ ๓ ประเภท คือ (๑) โรงทานที่ตั้งแบบถาวร ตามวัดและสำนักปฏิบัติธรรม (๒) โรงทานที่ตั้งแบบชั่วคราว ตามสถานที่จัดงานบุญ เช่น งานพระถวายพระเพลิงพระบรมศพ และ(๓) โรงทานที่ตั้งช่วงเหตุเหตุการณ์สำคัญตามสถานที่เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ชุมชน
ผู้ที่ตั้งโรงทานในสังคมไทย


Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕