หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วณิชชา ศรีชาย
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
แนวทางการดำเนินงานการสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย
ชื่อผู้วิจัย : วณิชชา ศรีชาย ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกศลศาสนบัณฑิต
  อุทัย สติมั่น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีงานสังคมสงเคราะห์ในวิทยาการปัจจุบัน ๒) ศึกษาแนวคิดงานสังคมสงเคราะห์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่า    

๑) งานสังคมสงเคราะห์ หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากสามัญสำนึกที่จะให้ความช่วยเหลือด้วยจิตอาสา เพื่อที่จะให้ผู้ประสบปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถที่จะทำการช่วยเหลือตนเองได้ โดยมีแนวคิดพื้นฐานที่เกิดจากความเมตตากรุณาต่อบุคคลผู้ซึ่งได้รับความทุกข์ยากลำบากจากปัญหาต่าง ๆ มีการนำศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการของงานสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ ทฤษฎีบทบาท ทฤษฎีแห่งระบบ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน ทฤษฎีจิตสังคม ทฤษฎีการหน้าที่ ทฤษฎีเน้นพฤติกรรมทางสังคม และทฤษฎีการช่วยเหลือในกรณีวิกฤติการณ์ เป็นต้น

๒) งานสังคมสงเคราะห์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มนุษย์รู้จักความจริงของชีวิตเพื่อให้มนุษย์ทั้งหลายพ้นจากทุกข์ มุ่งหวังให้มนุษย์มีชีวิตที่ดำรงอยู่อย่างไม่เบียดเบียนผู้อื่น ให้มีเมตตาเอื้อเฟื้อแด่บุคคลทั่วไป โดยมีแนวคิดพื้นฐานคือการบูชายัญ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการบูชายัญโดยการฆ่าสัตว์มาเป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือ เว้นจากการฆ่า การเบียดเบียนและการทำลายชีวิต ในพระพุทธศาสนามีการสงเคราะห์ ๒ อย่าง คือ ๑) การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๒) การสงเคราะห์ด้วยธรรม ซึ่งหลักธรรมที่สำคัญของงานสังคมสงเคราะห์ในพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ สังคหวัตถุ ๔ คือ ทาน การให้ ปิยวาจา การกล่าววาจาเป็นที่รัก อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์ และสมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ จัดว่าเป็นหลักธรรมเป็นเครื่องสงเคราะห์ หรือเป็นหลักปฏิบัติเพื่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกันของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕