หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รัฐพล โกรินทร์
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๔ ครั้ง
แนวทางการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักพุทธธรรมของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : รัฐพล โกรินทร์ ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโอภาสนนทกิตติ์
  พระมหาเผด็จ จิรกุโล
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ๒) เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานครโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี มีเครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม นักเรียนจำนวน ๓๐๐ รูป และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติหาค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย

        ๑. สภาพปัจจุบันและปัญหาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม พบว่า มีระดับความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติ โดยเรียงลำดับระดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ตามลำดับ

      ๒. วิธีการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา บูรณาการหลักไตรสิกขาและใช้อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นบทฝึก โดยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีด้วยศีลพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งด้วยสมาธิพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขด้วยปัญญา

      ๓. เสนอแนวทางการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักพุทธธรรมของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานครประกอบด้วย ๑) ฝึกพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีด้วยศีลผ่านกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้ฝึกควบคุมความอยาก และควบคุมอารมณ์ได้รู้จักเห็นใจ ห่วงใย รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นว่าอะไรถูกผิด รู้จักยอมรับผิด และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม ๒) ฝึกพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งด้วยสมาธิผ่านกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้ฝึกสร้างความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ฝึกให้นักเรียนปรับตัวได้ง่ายให้นักเรียนกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ๓) ฝึกพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขด้วยปัญญาผ่านกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้ฝึก การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ความพึงพอใจในตัวเอง

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕