หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมยศ สุทฺธิสิริ (คุ้มม่วง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การศึกษาเรื่องเวไนยบุคคลในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมยศ สุทฺธิสิริ (คุ้มม่วง) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(บาลี)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  นาย รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ เมษายน ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

                   วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของเวไนยบุคคล ศึกษา
เรื่องพุทธวิธีการสอนเวไนยบุคคล และศึกษามรรคผลที่เวไนยบุคคลได้รับ ตามที่ปรากฏใน
คัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
                   ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มบุคคลที่ได้พบและได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงมี๔ กลุ่ม

(๑) อุคฆฏิตัญญู                                      (๒) วิปจิตัญญู

(๓) เนยยะ                                   (๔) ปทปรมะ จัดเป็นเวไนยบุคคล ๓ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อุคฆฏิตัญญู เป็นบุคคลที่มีสติปัญญาดีฟังธรรมครั้งเดียวก็สำเร็จ (๒) วิปจิตัญญู เป็นบุคคลที่มีสติปัญญาค่อนข้างดีฟังธรรมเพียงเล็กน้อยก็สำเร็จ(๓) เนยยะ เป็นบุคคลที่มีสติปัญญาปานกลางฟังธรรมอยู่บ่อย ๆ ก็สำเร็จ ส่วนกลุ่มที่ ๔ปทปรมะ เป็นบุคคลที่แม้จะได้ศึกษามาก สั่งสอนผู้อื่นมาก ทรงจำคำสอนได้มาก แต่ไม่บรรลุมรรคผลในชาติที่ตนเกิดนี้ กลุ่มที่ ๔ นี้ ได้ผลจากการฟังธรรมเพียงเป็นวาสนาบารมีในภพต่อ ๆ ไปพุทธวิธีการสอนเวไนยบุคคลที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ประกอบด้วยเนื้อหาที่สอนจะต้องเหมาะสมกับผู้ฟัง รู้จักสังเกตจริตผู้ฟัง ผู้สอนต้องปรับตัวให้เข้ากับผู้ฟังและสภาพแวดล้อมได้ ส่วนลีลาการสอนมี๔ ประเภท ได้แก่(๑) ทำให้เห็นชัดแจ้ง เรียกว่า
สันทัสสนา (๒) จูงให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม เรียกว่า สมาทปนา (๓) ทำให้ผู้ฟังมีความแกล้ว
กล้า เรียกว่า สมุตเตชนา (๔) ชโลมใจให้แช่มชื่น เรียกว่า สัมปหังสนาส่วนกลวิธีและอุบายประกอบการสอนของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยการยกอุทาหรณ์ การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา การใช้อุปกรณ์การสอน การทำเป็นตัวอย่างการเล่นภาษาเล่นคำ การรู้จักจังหวะและโอกาส การลงโทษ และให้รางวัล กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นต้น ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมรรคผลที่เวไนยบุคคลได้รับตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พบว่า เมื่อ
เวไนยบุคคลได้รับฟังพระธรรมเทศนาแล้ว สามารถบรรลุมรรคผลได้ตามกำลังสติปัญญาและ
บารมีธรรมที่เคยสั่งสมอบรมมา ทำให้บรรลุมรรคผลเป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค และอรหัตตผล

 

Download :  255032.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕