หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุทธินันท์ พรหมพันธุ์ใจ
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้แผนผังโครงสร้าง ความรู้ที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา GE ๑๐๐๑ การต่อต้านการทุจริตของนักศึกษาชั้นปีที่ ๑มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : สุทธินันท์ พรหมพันธุ์ใจ ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประยูร แสงใส
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ รายวิชา GE ๑๐๐๑ การต่อต้านการทุจริต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ รายวิชา GE ๑๐๐๑ การต่อต้านการทุจริต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสานสถานศึกษา ๓) เพี่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ รายวิชา GE ๑๐๐๑ การต่อต้านการทุจริต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน จำนวน ๓๒ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบวัดการคิดแก้ปัญหา ชนิดปรนัย  ๔  ตัวเลือกจำนวน ๒๐ ข้อ ที่มีความยาก  (p) อยู่ระหว่าง  ๐.๒๓  ถึง  ๐.๕๗  ค่าอำนาจจำแนก  (r)  ตั้งแต่  ๐.๓๒  ถึง  ๐.๕๒  มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-๒๐)  เท่ากับ  ๐.๘๗  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชนิดปรนัย  ๔  ตัวเลือก  จำนวน  ๓๐  ข้อ  ค่าความยาก  ระหว่าง ๐.๕๔ -๐.๘๑ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ ๐.๒๖–๐.๗๓ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้วิธีของ Lovett ได้ค่าเท่ากับ ๐.๘๘ แบบวัดความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) ซึ่งมี ๕ ระดับจำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .๔๕ - .๘๓  ค่าความเชื่อมั่น  โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient)  ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๗ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมุติฐานด้วย Paired t–test  

 

ผลการวิจัย พบว่า

๑. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ รายวิชา GE ๑๐๐๑ การต่อต้านการทุจริต มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

๒. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ รายวิชา GE ๑๐๐๑ การต่อต้านการทุจริต มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ 

๓. ความพึงพอใจของนักศึกษาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความพึงพอใจสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาคือด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดผลและประเมินผล

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕