หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดภาณุวัฒน์ วฑฺฒธมฺโม (พลอยทรัพย์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพุทธศาสนา เถรวาทกับศาสนาอิสลาม: กรณีศึกษาเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดภาณุวัฒน์ วฑฺฒธมฺโม (พลอยทรัพย์) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีรัตโนบล
  พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาอิสลาม:กรณีศึกษาเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพุทธศาสนา
เถรวาทในเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ๒) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในศาสนาอิสลามในเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการและ ๓) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาอิสลามในเขตตำบลบางโฉลง อำเภอ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)

ผลการศึกษาพบว่า

วิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในทัศนะของทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นวิธีการที่ทำให้ชีวิตเกิดความสุขขึ้นด้วยหลักพุทธธรรม เพื่อเป็นเครื่องจรรโลงใจให้แข็งแรง และส่งผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย ได้แก่ (๑) หลักไตรลักษณ์ (๒) หลักอริยสัจ (๓) หลักบุญบาป/หลักกรรม    (๔) หลักพรหมวิหารธรรม และ (๕) หลักเบญจศีล-หลักเบญจธรรม

วิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในทัศนะของศาสนาอิสลามนั้น ผู้สูงอายุต้องปฏิบัติตนให้มีความสุขได้ด้วยตนเอง โดยปฏิบัติตามหลักของศาสนาอิสลาม ๒ ประการ คือ ๑) หลักศรัทธาหรือความเชื่อในศาสนา (อีมาน) หลักศรัทธาคือหลักคำสอนที่ผู้สูงอายุชาวมุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อว่าเป็นความจริงแท้และต้องยึดถืออย่างมั่นคง ได้แก่ (๑) ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า (๒) ศรัทธาใน
มลาอิกะฮฺ (๓
) ศรัทธาในบรรดา
รอซูลหรือศาสนทูตŒ (๔) ศรัทธาในพระคัมภีร์ (๕) ศรัทธาในวันพิพากษา และ (๖) ศรัทธาในการลิขิตของพระผู้เป็นเจ้า ๒) หลักปฏิบัติหรือหน้าที่ในศาสนา
(อิบาดะฮฺ)
ได้แก่ (๑) การปฏิญาณตน (๒) การละหมาด (๓) การบริจาคศาสนทานซะกาต (๔) การถือศีลอด (๕) การประกอบพิธีฮัจญ์

จากการเปรียบเทียบวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาอิสลามในเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ชาวพุทธกับชาวมุสลิมในเขตตำบลบางโฉลง มีทัศนะเกี่ยวกับวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุคล้ายกันว่า วิธีการเสริมสร้างความสุขนั้น เป็นเครื่องมือที่สร้างสังคมให้เกิดสันติสุข โดยใช้กฎหมาย จริยธรรมทางสังคม เป็นเครื่องมือสนับสนุน ต่างกันเพียงชาวพุทธมีทัศนะว่า วิธีการเสริมสร้างความสุขนั้น ต้องอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น หลักของไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา การฝึกมารยาท จิตตสิกขา การฝึกจิตให้มีความผ่องใส ปัญญาสิกขา การยกจิตออกจากความยึดมั่นถือมั่นในมายาทางสังคม ส่วนมุสลิมเน้นหลัก อามานะฮฺ ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติตนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น หน้าที่ของหัวหน้าครอบครัว และหน้าที่อันสำคัญที่สุดคือหน้าที่ที่อัลลอฮฺทรงมอบให้

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕