หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุญเชิด ชำนิศาสตร์
  พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙/มีนาคม/๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษานโยบาย แนวคิด ทฤษฎีและสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในโรงเรียนประถมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ใน โรงเรียนประถมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารและครูอาจารย์ จำนวน ๑๔๑ คน นักเรียน ๒๘๒ คน และผู้ปกครองหรือญาติและคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ๓๑๒ คน สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน สนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน

              ผลการวิจัย พบว่า :

 

๑. นโยบายการจัดการเรียนการสอนแบบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถานศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้อิสระ ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจและถนัด แนวคิดทฤษฎีโรงเรียน ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยการลดเวลาเรียนภาควิชาการและการลดเวลาของการจัดกิจกรรม 4 H คือ Head (กิจกรรมพัฒนาสมอง), Heart (กิจกรรมพัฒนาจิตใจ), Hand (กิจกรรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติ) และ Health (กิจกรรมพัฒนาสุขภาพ) ซึ่งสอดคล้องกับองค์ ๔ ของการจัดการศึกษา คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา ส่วนสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษา พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ๓ อันดับ ได้แก่ สภาพรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน สภาพคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน สภาพผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน และด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ สภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

 

๒. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในโรงเรียนประถมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ประกอบด้วย ๒ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) จัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เกี่ยวกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อใช้ประกอบการวางแผนการจัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ ๒) วิเคราะห์สภาพความพร้อมของโรงเรียน ทั้งด้านบุคลากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัสดุอุปกรณ์ สื่อ แหล่งเรียนรู้ สถานที่ งบประมาณ หรือประสานทรัพยากรภายนอกโรงเรียนมาให้การสนับสนุนโรงเรียน โดยแหล่งเรียนรู้ของการจัดการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียน ได้แก่ ๑) บริเวณและสถานที่ต่างๆ ภูมิทัศน์ของโรงเรียนในชุมชน/ท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  ๒) ผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน ๓) เรื่องราว สถานการณ์ และเหตุการณ์สำคัญ ๔) วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นและวันสำคัญศาสนาและทางราชการ โดยกิจกรรม 4 H ผู้บริหารและครูจะต้องเป็นกัลยาณมิตร อาศัยหลักพุทธธรรมคือ สังคหวัตถุ ๔ ในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากกิจกรรมอย่างเต็มความสามารถและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑

๓. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ส่วนนำ ได้แก่ ๑) สภาพแวดล้อม หลักการ ๓) วัตถุประสงค์ ส่วนที่ ๒ ตัวแบบ ประกอบด้วย ๑) ระบบงาน ๒) กระบวนการจัดการ ส่วนที่ ๓ ขั้นตอนการนำไปใช้ ประกอบด้วย ๑) โครงสร้าง ๒) การตัดสินใจ ๓) แนวทางการประเมิน และส่วนที่ ๔ ส่วนที่ ๔ เงื่อนไขความสำเร็จ บูรณาการหลักอิทธิบาท ๔

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕