หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เดโช แขน้ำแก้ว
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๓ ครั้ง
แรงงานข้ามชาติ : คุณภาพชีวิตและการสร้างคุณค่าบนประสบการณ์ ณ ถิ่นปลายทาง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : เดโช แขน้ำแก้ว ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ปาริชาติ วลัยเสถียร
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 4 พฤศจิกายน 2561
 
บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง แรงงานข้ามชาติ : คุณภาพชีวิตและการสร้างคุณค่าบนประสบการณ์
ณ ถิ่นปลายทาง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต
ของแรงงานข้ามชาติบนประสบการณ์ ณ ถิ่นปลายทาง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
และ 2) เพื่อศึกษาการสร้างคุณค่าของแรงงานข้ามชาติบนประสบการณ์ ณ ถิ่นปลายทาง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ทำการศึกษาแบบผสานวิธีทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แรงงานข้ามชาติ จำนวน 360 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมภาษณ์เชิงลึกแรงงานข้ามชาติ ผู้ประกอบการ/นายจ้างของแรงงาน
ข้ามชาติ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ รวมทั้งสิ้น 2
4 คน เลือกแบบเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า

คุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ในด้านการบริโภคอาหาร เครื่องนุ่งห่ม บ้านเรือนที่อยู่อาศัย สุขภาพ รายได้ และความสัมพันธ์ในสังคม ผลการศึกษา พบว่า แรงงานข้ามชาติมีคุณภาพชีวิตทุกด้านโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยปานกลางที่ต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับด้านอื่น คือ ด้านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  

การสร้างคุณค่าของแรงงานข้ามชาติบนประสบการณ์ ณ ถิ่นปลายทาง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเข้ากันได้ทางวัฒนธรรมเป็นความความเข้ากันได้ภายใต้การอยู่อาศัยร่วมกันที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สัมพันธ์กันในด้านภาษา อาหาร การแต่งกาย ความเชื่อและประเพณี รวมถึงศาสนาและนันทนาการ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับแรงงานจากชาติ
อื่น ๆและคนในชุมชนท้องถิ่นไทย  ให้เห็นว่าเป็น “คนบ้านใกล้เรือนเคียง” อีกทั้งการแสดงตนเป็น
“ไม่เป็นพิษภัย” ซึ่งไม่เกิดความแปลกแยกตามแนวทางหลักธรรม
มงคลชีวิต 38 ประการ
2) มีการพัฒนาความรู้และวิธีคิด มีการเสริมสร้างการพัฒนาเครือข่ายในการปฏิบัติงาน ฝึกฝีมือ ความรู้ความสามารถและทัศนคติที่ดีในการทำงานเพื่อเพิ่มศักยภาพ เช่น ค่าจ้างและสวัสดิการ
ต่าง ๆ สร้างการยอมรับในการใช้ความรู้และวิธีคิดที่จากการ
ลงมือทำ และปฏิบัติมาอย่างยาวนาน อีกทั้งรู้หน้าที่ มีน้ำใจ ความรับผิดชอบ และตั้งใจทำงานจนมีรายได้ และการออมเงิน เพื่อเป็น หลักประกันในอนาคต สร้างอาชีพรายได้เสริมหรือในลักษณะ การก่อร่างสร้างตัว 3) ทักษะ
และอาชีพ มีการส่งเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานสร้างการยอมรับ และเชื่อมประสานเครือข่ายในการทำงาน ฝึกฝนจนชำนาญ และสามารถ
สาธิตเป็นตัวอย่างได้ เพราะลงมือปฏิบัติจริงอยู่เสมอ ไม่เลือกงานและทำด้วยความเต็มใจเรียกได้ว่าเป็นการสร้างคุณค่าในลักษณะ การก่อรูปของชุมชนนักปฏิบัติ” 4) โอกาสและเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งก่อประโยชน์ที่ได้รับร่วมกันเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้หรือทดแทนแรงงานไทยที่ขาดแคลน จึงเกิดการจ้างงานแรงงานข้ามชาติเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งมีนโยบาย การควบคุมดูแล ภายใต้กฎกติกา และข้อตกลงร่วมกันในสังคม
พหุวัฒนธรรมที่ทำให้ความรู้สึกด้านลบลดลง ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าในลักษณะที่ยอมรับว่า แรงงานข้ามชาติก็เป็นผู้ใช้แรงงานเหมือนกัน หรือ
คนทำมาหากินเช่นเดียวกัน และ 5) ความเป็นธรรมทางสังคมที่สะท้อนถึงความยุติธรรมที่ควรได้รับ ปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติเมื่อเห็นว่า ถูกละเมิดสิทธิหรือเมื่อเหตุการณ์ที่เห็นว่า ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ทันถ่วงที พร้อมทั้งการสร้างความเข้าใจ คุ้มครองสิทธิ ด้วยการปฏิบัติตามกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน
ในขณะเดียวกันก็ให้สิทธิประโยชน์ทางสังคมที่
ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และการกดขี่อีกทั้งมี กองทุนสวัสดิการที่ภาครัฐจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนแก่ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติ

จากผลการศึกษาทำให้ทราบว่า การเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติ สามารถสร้างคุณค่า ได้แก่ ด้านความเข้ากันได้ทางวัฒนธรรม ด้านความรู้และวิธีคิด ด้านทักษะและอาชีพ
ด้านโอกาสและเป้าหมายร่วมกัน และความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งแรงงานข้ามชาติสามารถ
สร้างคุณค่า ทั้งบนพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม ทำให้เกิดคุณค่าในระดับต่าง ๆ ได้แก่
อยู่รอด
อยู่ร่วม และอยู่ได้อย่างมั่นคง
มีกินมีใช้ มีเก็บออม มีหลักประกัน ได้เพิ่มการเรียนรู้ในลักษณะชุมชนนักปฏิบัติได้

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕