หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » YAN KWAY SHAO
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์ผัสสเจตสิกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ชื่อผู้วิจัย : YAN KWAY SHAO ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  อรชร ไกรจักร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์ผัสสเจตสิกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อคือ ๑) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องผัสสเจตสิกในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของมนุษย์อันเกิดจากผัสสเจตสิก ๓) เพื่อวิเคราะห์ผัสสเจตสิกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการค้นคว้าวิจัยเอกสารและออกแบบสัมภาษณ์

ผลการศึกษาพบว่า ผัสสะ หมายถึงภาวการณ์กระทบ ส่วนผัสสเจตสิก หมายถึงสภาวะที่กระทบอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมการรับรู้โลก เช่น ตาเห็นรูปเกิดการรับรู้ทางจักษุ เรียกว่าจักขุวิญญาณ หูได้ฟังเสียงเกิดการรับรู้ทางโสต เรียกว่าโสตวิญญาณ เป็นต้น ผัสสเจตสิกนั้น  มีอิทธิพลสำคัญแก่มนุษย์ทุกคนที่มีระบบประสาทที่ดี

โดยปกติตามธรรมชาติ มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๖ ตั้งแต่เกิดจนถึงวันตาย เมื่อมนุษย์ยังมีชีวิตอยู่กระบวนการแห่งการรับรู้นี้ย่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา ยกเว้นเวลาหลับ ดังนั้น ปัญหาในชีวิตมนุษย์ทั้งความขาดสติ มีอคติ ขาดการแยกแยะสิ่งสำคัญและไม่สำคัญ  เป็นต้น ล้วนมีที่มาจากการรับรู้ทางอารมณ์ หรือ ผัสสเจตสิก

การเรียนรู้กระบวนการแห่งผัสสะ เป็นการนำหลักมาประยุกต์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมด้วย อาศัย ๕ (ส) คือ สีละ สังวร สติ สัมปชัญญะ สังเลขะ และสมาธิ เป็นเครื่องกำกับการรับรู้ ที่เกิดขึ้นในชีวิตแต่ละช่วงแต่ละวัน โดยมนุษย์เราสามารถนำกระบวนการนี้มาประยุกต์พัฒนาชีวิต ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือทางสังคม ซึ่งการศึกษากระบวนการการรับรู้ทางอารมณ์ ที่ถูกทาง อารมณ์ก็จะพัฒนาไปในระบบธรรมดาของผัสสเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นชีวิตในระดับโลกิยะ หรือชีวิตในโลกุตระ


Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕