หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสารภัทรกิจ (พานิช ดวงมณี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
ศึกษาคติการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในสังคมไทย : กรณีศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสารภัทรกิจ (พานิช ดวงมณี) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระกัญจน์ กนฺตธมฺโม
  พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในพระพุทธศาสนาการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในสังคมไทย และคติการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เอกสาร ประกอบข้อมูลความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

ผลการศึกษาพบว่า

๑. การสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วกว่า ๖๐๐ ปี สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยคันธาระหรือศิลปะมถุรา ส่วนการสร้างพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ ปรากฏมีขึ้นในสมัยศิลปะคันธาระ ได้แก่ พุทธปฏิมากรรมขนาดใหญ่แห่งบามิยัน เป็นต้น

 

. การสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในสังคมไทย นับเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญในการสร้าง พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่ปรากฏคู่กับสังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์มี การสร้างพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่โตมาก และอาจใหญ่ที่สุดกว่าทุกสมัย จึงเป็นสิ่งสะท้อนได้ถึงความ เจริญของพระพุทธศาสนาและยังบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี

. คติการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า เป็นคติที่สืบเนื่องกันมา แต่โบราณดั้งเดิม ได้แก่ เป็นสื่อด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ด้านจิตใจ ด้านอิทธิพลคำสอนทาง พุทธศาสนา ด้านคุณค่าทางสังคม ด้านคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และด้านการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นคติความเชื่อแบบใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไปในการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปัจจุบัน แต่คติ โดยทั่วไปต่างก็มีจุดมุ่งหมายคือ เป็นการสั่งสมบุญบารมีเพื่อไปเกิดในยุคของพระศรีอาริย์ และการถึง พระนิพพาน ถือเป็นความปรารถนาสูงสุดของพุทธศาสนิกชนแทบทุกคน ส่วนคติด้านพุทธศิลป์ พบว่า ส่วนใหญ่ย้อนกลับไปสร้างตามรูปแบบศิลปะร่วมสมัยดั้งเดิม ที่นิยมมากที่สุดได้แก่ ศิลปะแบบสุโขทัย ผสมผสานกับศิลปะแบบพื้นถิ่น

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕