หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กิจชัย วงศ์ราช
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรฯ ตามแนวเทสนาหาระ
ชื่อผู้วิจัย : กิจชัย วงศ์ราช ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูประวิตรวรานุยุต
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพระประวัติและผลงานด้านพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรฯ 2) เพื่อศึกษาพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรฯ 3) เพื่อวิเคราะห์พระนิพนธ์ในสมเด็จสมเด็จพระญาณสังวรฯ ตามแนวเทสนาหาระ มีผลการศึกษา ดังนี้

 

สมเด็จพระญาณสังวรฯ (เจริญ  สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นชาวกาญจนบุรี ประสูติวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 บรรพชาวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 และอุปสมบท วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 ที่วัดบวรนิเวศ พ.ศ. 2484 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค พ.ศ. 2532 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อพระชนมายุได้ 100 พรรษา พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงมี พระอุปนิสัยชอบบันทึกเหตุการณ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2468 ขณะเรียนชั้นประถมศึกษา เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรบันทึกเทศน์ชื่ออริยทรัพย์ 7 ประการ ทรงบันทึกเรื่องราวบางครั้งเป็นเรื่องสั้นบางครั้งเป็นเรื่องยาวเป็นประจำ ทรงอ่านหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและทรงปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้น จึงทรงนิพนธ์หลักธรรมะให้อ่านเข้าใจได้ง่ายและง่ายต่อการปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน

ผลงานพระนิพนธ์ของพระองค์มีจำนวนมาก สามารถจัดกลุ่มได้ 4 ประเภท คือ  
1) ประเภทเรียงความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 114 เรื่อง 2) ประเภทคำบรรยายและคำสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 47 เรื่อง 3) ประเภทเทศนาภาษาไทย 34 เรื่อง 4) ประเภทวิชาการเช่นหลักพระพุทธศาสนา, 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า เป็นต้น

การวิเคราะห์พระนิพนธ์ตามแนวเทสนาหาระ ดังนี้ 1) อัสสาทะ พบว่า พระนิพนธ์  กล่าวถึงการสร้างชีวิตที่มีคุณค่าเช่น ชีวิตคือความฝัน, ส่วนประกอบสำคัญของชีวิต, ชีวิตกับศาสนา เป็นต้น 2) อาทีนวะพบว่าพระนิพนธ์มีเนื้อหากล่าวถึง ชีวิตที่มีทุกข์ เช่น ชีวิตที่ขาดศรัทธาจึงมีทุกข์, ทุกข์ของชีวิตด้วยอำนาจกรรม เป็นต้น 3) นิสสรณะพบว่าพระนิพนธ์มีเนื้อหากล่าวถึง ภาวะที่ชีวิตหลุดพ้นเช่น ภาวะที่ชีวิตหลุดพ้นความทุกข์, การมีความสุขในปัจจุบัน, ภาวะที่ชีวิตหลุดพ้นทุกข์ด้วยปัญญา เป็นต้น 4) ผละ พบว่า พระนิพนธ์มีเนื้อหากล่าวถึงจุดมุ่งหมายของชีวิตในปัจจุบัน, จุดมุ่งหมายของชีวิตในอนาคตที่มีศรัทธา ปัญญา ศีล กรรม เป็นต้น  5) อุปายะพบว่าพระนิพนธ์        มีเนื้อหากล่าวถึง การก้าวย่างของชีวิตออกจากนิวรณ์ด้วยวิธีที่แยบยล  6) อาณัติพบว่าพระนิพนธ์          มีเนื้อหากล่าวถึง ความสำเร็จในชีวิต, จิตใจดีชีวิตดีมีสุข, วาสนาดีชีวิตดี เป็นต้น

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕