หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิทญ์ ธมฺมวโร (ธนานภรัตน์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
วิเคราะห์คติเชิงปรัชญาที่ปรากฏในเรื่องพระอุปคุต
ชื่อผู้วิจัย : พระวิทญ์ ธมฺมวโร (ธนานภรัตน์) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิโรจน์ วิชัย
  พูนชัย ปันธิยะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติพระอุปคุตในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาคติความเชื่อเรื่องพระอุปคุตในวิถีชีวิตของชาวพุทธ ๓) เพื่อวิเคราะห์เชิงปรัชญาด้านอภิปรัชญาและจริยศาสตร์ ที่ปรากฏในเรื่องพระอุปคุต เป็นการวิจัยเอกสาร

 

ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ ๑) ในด้านหลักฐาน พบว่า เรื่องพระอุปคุตไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แต่ปรากฏในคัมภีร์ยุคหลัง คือ อโศกาวทาน และ ปฐมสมโพธิกถา เล่าว่า พระอุปคุตเกิดในตระกูลพ่อค้าน้ำหอม ในเมืองมถุรา เมื่ออุปสมบทแล้ว พระอุปคุตเป็นที่รู้จักของมหาชนในการแสดงบทบาทเด่นด้วยการใช้ฤทธิ์ปราบพญาวสวัสดีมาร  ในคราวฉลองสถูปของพระเจ้าอโศกมหาราช

 

) ในด้านพระอุปคุตกับวิถีชีวิตของชาวพุทธ  พบว่า เมื่อชาวพุทธจะประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ ต้องอัญเชิญพระอุปคุตมาคุ้มครอง เพื่อให้งานลุล่วงไปด้วยดี  โดยสืบทอดคติในการปราบ     เทวปุตตมาร คือ พญามารวสวัสดี ที่ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปปราบ จึงเกิดประเพณีอัญเชิญพระอุปคุตมาคุ้มครองทุกพิธีกรรมที่สำคัญ และประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ด

 

) ในด้านแนวคิดเชิงปรัชญา เชิงอภิปรัชญา พบว่า การมีอยู่ของพระอุปคุตแม้เป็นเพียงนามธรรม แต่ก็อาศัยหลักแหล่งเกิดความเชื่อมายืนยันคือ ศัพทประมาณ (แหล่งความรู้จากหลักฐานอ้างอิง) จึงเป็นผู้ที่มีตัวตนอยู่จริงในความคิดและความเชื่อ ในเชิงจริยศาสตร์ พบว่า ความเคารพในพระอุปคุตเป็นกรอบให้ชาวพุทธได้ทำความดี คือ การบูชาอย่างเป็นรูปธรรม เพราะการบูชา เป็นบุญกิริยาวัตถุ การบูชาพระอุปคุตทำให้เกิดคุณค่าหลายประการ คือ คุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน ศาสนา และสังคม ซึ่งสาธุชนนำหลักจริยธรรมนี้ไปปฏิบัติในวิถีชีวิตได้

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕