หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาพินิจ ฐิตปญฺโญฺ
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
ปัจจัยทางพุทธธรรมที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของจิตใจเพื่อการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (สาขาวิชาชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาพินิจ ฐิตปญฺโญฺ ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  ประยูร สุยะใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งของจิตใจตามแนวทางพุทธจิตวิทยาต่อการปฏิเสธสิ่งเสพติดของผู้ติดยาเสพติด และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเข้มแข็งของจิตใจตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการปฏิเสธสิ่งเสพติดของผู้ติดยาเสพติด  โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ถูกควบคุมความประพฤติในสถานศึกษาสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร ๓ (ประจำศาลแขวงธนบุรี)  จำนวน ๒๙๙ คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย         ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ Pearson Chi-Square และ One-way ANOVA  -test  ที่ระดับนัยสำคัญ .๐๕

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ถูกควบคุมความประพฤติมีปัจจัยทางพุทธธรรมด้านสังคมและด้านจิตลักษณะอยู่ในเกณฑ์ระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ  ๓.๘๐ และ ๓.๗๔  ตามลำดับ                   และผู้ถูกควบคุมความประพฤติมีระดับความเข้มแข็งของจิตใจต่อการปฏิเสธ ยาเสพติดของผู้ติดยาเสพติดอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๑  เมื่อพิจารณาแยกตามองค์ประกอบความเข้มแข็งของจิตใจตามหลักพุทธธรรม คือ การพัฒนาทางจิตใจตามหลักไตรสิกขา  ความมุ่งมั่นในการบำบัดยาเสพติดด้วยการกำกับตนเอง  และ ความมีเมตตาตามหลักพรหมวิหารธรรม  อยู่ในระดับดี ด้วยค่าเฉลี่ย ๓.๗๖   ๓.๕๐ และ ๓.๖๓ ตามลำดับ  พบว่า ปัจจัยด้านจิตลักษณะของผู้ถูกควบคุมความประพฤติ พบว่ามีน้ำหนักอิทธิพลทางบวกต่อความเข้มแข็งของจิตใจต่อการปฏิเสธสิ่งเสพติด เท่ากับ ๑.๐๒  ซึ่งถือว่ามีน้ำหนักอิทธิพลในระดับสูงมาก  เมื่อพิจารณาน้ำหนักอิทธิพลรายตัวแปรที่ส่งผลต่อปัจจัยด้านจิตลักษณะ พบว่า ตัวแปรความเชื่อมั่นในตนเองและความมุ่งมั่นอนาคต มีมีน้ำหนักอิทธิพลสูงสุด คือ .๗๙  ส่วนสุขภาพจิตมีน้ำหนักอิทธิพล .๖๕ และพบว่า ความเข้มแข็งของจิตใจต่อการปฏิเสธสิ่งเสพติดของผู้ถูกควบคุมความประพฤติ จากองค์ประกอบทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านการพัฒนาการทางจิตใจ   ด้านความมุ่งมั่นในการบำบัดยาเสพติด และด้านความมีเมตตา   พบว่าทุกตัวมีน้ำหนักอิทธิพลอยู่ในเกณฑ์ที่สูง คือ .๗๙  .๖๘ และ .๗๓  ตามลำดับ 

โดยภาพรวมพบว่า  ปัจจัยที่มีผลในการกระทำ ผิดซ้ำของผู้ต้องขังในคดีเสพยาบ้า ส่วนใหญ่อาชีพรับจ้างทั่วไป  รายได้ต่อเดือนระหว่าง ๕,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ บาท สภาพครอบครัว บิดามารดาอยู่ร่วมกันและไม่มีส่วนในการกระทำผิด   ที่อยู่อาศัยเป็นของบิดามารดา ตั้งอยู่ในเขต เทศบาลบริเวณชุมชนแออัด  สาเหตุของการเสพยาบ้ามาจากการอยากลอง ส่วนที่ไม่สามารถเลิกเสพได้เพราะจำ เป็นต้องการใช้ในการทำงาน   ทราบดีว่ายาบ้าทำให้เสียอนาคตและมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ  การคบเพื่อนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและรู้ว่าการจำหน่ายยาบ้ามีโทษ หนักกว่าการเสพ  การที่กลับไปกระทำผิดซ้ำ มาจากการไม่มีงานทำ และมีปัญหาด้านการเงิน ทั้งนี้ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดีเสพยาบ้าส่วนใหญ่ต้องการให้มีงานรองรับหลังพ้นโทษเพื่อจะได้มีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว  โดยต้องการให้สังคมยอมรับ และให้โอกาสกลับตัวเป็นคนดี

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕