หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์ยุทธนา อนุทโย (กรใหม่)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะกัลยาณมิตร สำหรับผู้บริหาร โรงเรียนประประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์ยุทธนา อนุทโย (กรใหม่) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  พีรวัฒน์ ชัยสุข
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักกัลยาณมิตร ในการบริหารการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี ๒) เพื่อศึกษาหลัก และวิธีใช้กัลยาณมิตร ในการบริหารการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี ๓) เพื่อเสนอแนวทางการใช้หลักกัลยาณมิตร ในการบริหารการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๐๑ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๕ รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผลการวิเคราะห์สภาพการใช้หลักกัลยาณมิตรในการบริหารการศึกษา โดยรวม        ๗ ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านน่าเคารพ รองลงมาได้แก่ ด้านรู้จักพูดให้ได้ผล  ด้านเป็นที่รัก ด้านน่ายกย่อง ด้านอดทนต่อถ้อยคำ แถลงเรื่องล้ำลึกได้ และข้ออยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ ไม่ชักนำในเรื่องเหลวไหล  ตามลำดับ

๒. หลักการและวิธีใช้กัลยาณมิตรสำหรับการจัดการบริหารงานมีระบบในการทำงานดีมีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพและสร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้บุคลากรปฏิบัติงานสำเร็จด้วยความภูมิใจ ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดรู้จักพูดเจรจาให้ทุกฝ่ายเข้าใจกัน อธิบายเหตุผลด้วยวาจาที่ไพเราะอ่อนหวาน และยินดีรับฟังปัญหาในด้านการบริหารจัดการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเทการยอมรับฟังทุกฝ่าย วิเคราะห์ข้อมูลซับซ้อนให้เข้าใจได้ ชัดเจนแจ่มแจ้ง มีแนวคิดใหม่ๆ สามารถอธิบายเข้าใจและนำมาปฏิบัติได้

๓. แนวทางการใช้หลักกัลยาณมิตรในการบริหารการศึกษา สำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังเคราะห์ได้ดังนี้ ๑) จัดบุคคลให้เหมาะสมกับงาน ๒) มีมนุษยสัมพันธ์ ๓) มีเหตุผลในการบริหารงาน ๔) ยอมรับความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ๕) สงเคราะห์บุคลากรด้วยหลักกัลยาณมิตร ๖) ยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อการบริหารงานซึ่งสอดคล้องกับองค์ความรู้คุณลักษณะกัลยาณมิตรสำหรับผู้บริหารที่ดี

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕