หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศศมน ศุพุทธมงคล
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการบริหารธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืน
ชื่อผู้วิจัย : ศศมน ศุพุทธมงคล ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีรัตนบัณฑิต (สุทิตย์ อาภากโร)
  พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการบริหารธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ต้องการศึกษา (๑) หลักการบริหารงานของธุรกิจเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จ (๒) หลักพุทธธรรมในการบริหารธุรกิจ เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการบริหารธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืน  โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงเอกสารเพื่อรวบรวมหลักธรรม และหลักการบริหารธุรกิจของกรามีน แบ้งก์ และสหกรณ์การเกษตรที่ประสบความสำเร็จ  และใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพื่อเก็บข้อมูลสนาม  ผลการวิจัยพบว่าธุรกิจการเงินเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จต้องมีวิสัยทัศน์ที่มุ่งทำประโยชน์ให้สมาชิก  มีขั้นตอนการให้กู้เงินแก่สมาชิก คือ ก) กำหนดวัตถุประสงค์ของเงินกู้ ข) สร้างศรัทธาแก่องค์กรและระบบธุรกิจเพื่อสังคม  ค) การสร้างพลังกลุ่ม ง) ติดตามการใช้เงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และพบว่ากิจการเหล่านี้ใช้หลัก พ่อค้าตาดี ทิฏฐธัมมิกัตถะ โภควิภาค ๔  การแก้ปัญหาความยากจนตามหลักของทานและศรัทธา และ หลักอรรถ ๓  กัลยาณมิตร และ อิทธิบาท ๔ ในการทำให้ธุรกิจยั่งยืน   สำหรับแนวทางการประยุกต์หลักธรรมเพื่อการบริหารธุรกิจเพื่อสังคมให้ยั่งยืน ผู้วิจัยเสนอให้ใช้ ๑) หลักอรรถ ๓ คือ การมุ่งทำประโยชน์แก่คนจน ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัฒนธรรมองค์กร ๒) หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ ในมิติการเรียนรู้และพัฒนา  ๓) หลักอิทธิบาท ๔ ในการพัฒนาคุณภาพงานและนวัตกรรมทางธุรกิจ ๔) การดูแลลูกค้า ใช้หลักศรัทธาเพื่อรักษาและเพิ่มสมาชิก ๕) ด้านการเงิน ยึดหลักโภควิภาค ๔ ในการจัดสรรรายได้และกำไรให้เป็นประโยชน์ให้กับสมาชิก และธุรกิจ  

 Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕