หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเดชา สีลเตโช (ศรีภูงา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
การเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยพุทธปริตร
ชื่อผู้วิจัย : พระเดชา สีลเตโช (ศรีภูงา) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุธีคัมภีรญาณ
  พระโสภณพัฒนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ เมษายน ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการสวดพุทธปริตรในการรักษาสุขภาพสมัยพุทธกาล ๒) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยพุทธปริตรโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม ซึ่งงานวิจัยนี้ได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ในการศึกษาวิจัย คือ อำเภอจตุรพักตรพาน จังหวัดร้อยเอ็ด

การสวดพุทธปริตรในการรักษาสุขภาพสมัยพุทธกาลมีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎก อรรกถาและฎีกา ซึ่งเริ่มเมื่อผู้ป่วยได้เจริญพระพุทธมนต์หรือได้ฟังเสียงสวดมนต์แล้ว ทำให้สุขภาพร่างกายฟื้นฟูและแข็งแรงขึ้น เพราะเสียงที่เกิดจากการสวดหรือฟังมีผลต่อสภาพจิตใจผู้ป่วยที่เป็นไปในทางบวก

ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน) ระยะเวลาของการเป็นเบาหวานส่วนมากจะป่วยตั้งแต่ ๔ ปีขึ้นไป ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายอยู่กับครอบครัว ชอบทำบุญที่วัด โดยเฉพาะในวันพระ เพื่อถือศีลแปดมีอาชีพ ทำเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา ค้าขาย เพื่อให้มีรายได้ ชอบอยู่ในบ้านเรือนของตนเอง เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน สุขภาพทางกายโดยภาพรวมมีความแข็งแรงเป็นปกติ และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง แต่ถึงกระนั้นความเจ็บป่วยเริ่มมีให้เห็นปรากฏเป็นไปตามธรรมดาของวัย

วิธีการเสริมสร้างสุขภาพองค์รวมของผู้สูงอายุนั้น ผู้สูงอายุมีความต้องการอยากที่จะเขาร่วมกิจกรรมกับลูกหลาน เพื่อที่จะทำให้สุขภาพทางจิตใจดีขึ้น และสุขภาพร่างกายจะดีขึ้นตามได้ก็เพราะจิตใจที่ดีขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ผู้ให้บริการในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องมีบทบาทในการให้ความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพ การตรวจคัดกรองสุขภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้วย และการนำการสวดมนต์บทต่างๆ ในการประกอบพิธีกรรมสวดพระปริตรทำให้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตดียิ่งขึ้น

 

การเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยพุทธปริตรนั้น พุทธปริตร นอกจากจะเป็นพิธีสร้างขวัญกำลังใจ และทำให้คนได้สำนึกอยู่ในความไม่ประมาทแล้วการสวดพระปริตร ยังถือได้ว่ามีผลหรือประโยชน์ในทางการรักษาสภาวะด้านจิตใจและโรคทางกายเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาในการรักษาที่ยาวนานโรคที่ต้องอาศัยการฟื้นฟู ทำให้จิตใจเข้มแข็ง มีกำลังใจพร้อมที่จะต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆเพื่อการมีชีวิตรอดจนสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายของตนเองสู่สภาพปรกติได้

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕