หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาคำพอง สทฺทวโร (วันจะนะสุข)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
การจัดการศึกษาเพื่อสันติภาพของชาวพุทธและมุสลิมในชุมชนวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาคำพอง สทฺทวโร (วันจะนะสุข) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิวัฒน์ หามนตรี
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ ๓ ประการ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักการและคำสอนในการอยู่ร่วมกันของศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ๒) เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาของชาวพุทธและมุสลิม ในชุมชนวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๓) เพื่อวิเคราะห์การจัดการศึกษาเพื่อสันติภาพของชาวพุทธและมุสลิม ในชุมชนวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research)ด้วยวิธีวิจัยเชิงเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑) เอกสารชั้นปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก และคัมภีร์อัลกุรอาน ๒) เอกสารชั้นทุติยภูมิ ได้แก่ หนังสือ เอกสารงานนิพนธ์ของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา และศาสนามุสลิม ประวัติความเป็นมาของชุมชนเมื่อได้ข้อมูลทางด้านเอกสารครบถ้วน และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Techniques)

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. หลักคำสอนว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน ของศาสนาพุทธ มีหลักธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมคือ เบญจศีล เบญจธรรม พรหมวิหาร ๔ ฆราวาสธรรม ๔ สาราณียธรรม ๖ สังคหวัตถุ ๔ และหลักของศาสนาอิสลาม คือ หลักปฏิบัติ ๕ ประการ และหลักศรัทธา ๖ ประการ ประชาชนในชุมชนวัดท่าการ้อง ได้ยึดหลักคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถือนั้นเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

๒. การจัดการศึกษาในชุมชนทั้งสองศาสนาที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์ มีความแตกต่างทางศาสนา และวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี แต่ภายใต้ภาวะความแตกต่างนั้น กลับเป็นการหลอมรวม และผสมผสานวิถีชีวิตที่ดำรงอยู่ ของประชาชนในชุมชน ทั้งสองศาสนาในชุมชนแห่งนี้ วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ จึงซึมซับและหลอมรวมกัน โดยไม่มีความเป็นเชื้อชาติหรือศาสนามาแบ่งกั้นประชาชนในชุมชน มีการดำเนินชีวิตและอาศัยอยู่ในชุมชนมาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของการจัดการศึกษา อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรม และพิธีกรรมทางศาสนา

๓. การวิเคราะห์การจัดการศึกษาเพื่อสันติภาพของชาวพุทธและมุสลิมในชุมชนวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในมิติความเป็นมนุษย์ พบว่า มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อมีชีวิตอยู่รอดส่วนหนึ่ง และเรียนรู้ได้โดยกระบวนการศึกษาอบรมอีกส่วนหนึ่ง เป้าหมายที่สำคัญของการศึกษา คือ การเปลี่ยนผู้เรียนจากผู้ไม่รู้  สู่ผู้รู้ และเห็นได้จากการมีวิธีคิด มิติทางสังคม พบว่า โครงสร้างของความรู้ และความต้องการของผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องปฏิรูปและฟื้นฟู ผ่านวิธีสอนและเนื้อหา การให้ผู้เรียนยอมรับและเข้าใจความหลากหลายของกันและกัน และมิติทางวัฒนธรรม พบว่า การบูรณการวัฒนธรรมด้านความรู้นั้นควรเริ่มต้นที่การสร้างให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานทางด้านประวิติศาสตร์ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในสังคม และมีวิธีสอนที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ไม่ว่าผู้เรียนนั้นจะมีความแตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ หรือชนชั้นทางสังคม ผู้เรียนกลุ่มต่าง ๆ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕