หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เสาวภาคย์ เออร์วิน
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์การอธิบายธรรมโอสถของพระพุทธเจ้า
ชื่อผู้วิจัย : เสาวภาคย์ เออร์วิน ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  พระมหาดนัยพัชร์ คมฺภีรปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการศึกษาการอธิบายธรรมโอสถของพระพุทธเจ้า มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาบุคคลาธิษฐานและธรรมาธิษฐานของพระพุทธเจ้า (๒) เพื่อศึกษาการอธิบายธรรมโอสถแบบบุคคลาธิษฐานและธรรมาธิษฐานของพระพุทธเจ้า (๓) เพื่อวิเคราะห์การอธิบายธรรมโอสถแบบบุคคลาธิษฐานและธรรมาธิษฐานของพระพุทธเจ้า โดยเป็นการศึกษาเชิงเอกสาร

             จากการศึกษาพบว่า บุคคลาธิษฐานเป็นการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงยกบุคคล สัตว์ขึ้นอธิบายธรรมะ ทรงใช้ตัวอย่าง การเล่าเรื่อง การใช้นิทาน อุปมาอุปไมย หรืออุปลักษณ์ขึ้นเพื่อประกอบการสื่อสาระธรรมให้เหมาะสมกับผู้ฟัง ส่วนธรรมาธิษฐานเป็นการอธิบายธรรมของพระพุทธเจ้าโดยมุ่งแสดงสภาวธรรมแห่งชีวิตตามความเป็นจริง โดยไม่มีการยกตัวอย่างประกอบ หรือหากมี จะเป็นการอธิบายประกอบองค์ธรรมเพียงเล็กน้อย

             การอธิบายธรรมโอสถแบบบุคคลาธิษฐาน หมายถึง วิธีการสื่อธรรมของพระพุทธเจ้า อันเป็นหลักคำสอนเพื่อเยียวยาความทุกข์ของมนุษย์ทั่วไป โดยที่ผู้ฟังส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจในหลักคำสอนน้อย จึงทรงต้องอาศัยการอธิบายเพิ่มเติมด้วยการยกตัวอย่าง การเล่าเรื่อง เพื่อทำเรื่องที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความเชื่อมโยงและความเข้าใจต่อผู้ฟัง ในขณะที่การอธิบายธรรมโอสถแบบธรรมาธิษฐาน เป็นวิธีการสื่อธรรมโดยทรงตรัสถึงหลักธรรมอันเป็นนามธรรมสำคัญ ๆ เช่น ขันธ์ ๕ อริยสัจ ๔ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน สัญญา ๑๐ เป็นต้น อันเป็นการแสดงธรรมแก่พระอริยสาวกเป็นสำคัญ ดังเช่น พระโมคคัลลานะ พระคิริมานนท์ ผู้บรรลุโสดาบันและหมดแล้วซึ่งอาสวะทางจิต เป็นต้น

             การอธิบายธรรมโอสถทั้งแบบบุคคลาธิษฐานและธรรมาธิษฐานของพระพุทธเจ้ามีจุดหมายเดียวกัน คือ การสื่อสารธรรมะเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องความทุกข์ และการดับทุกข์ อันเป็นหลักธรรมที่ให้กำลังใจแก่ผู้ฟังเข้าใจในธรรมชาติของชีวิตและสรรพสิ่งว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถคงสภาพเดิมได้ ชีวิตจึงเป็นอนัตตาเพราะหาความเป็นตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ และการละความยึดติดจะเป็นหนทางของการดับทุกข์ หลักธรรมสำคัญที่ปรากฏในงานวิจัยนี้ ได้แก่ อริยสัจ ๔ หลักไตรลักษณ์ และปฏิจจสมุปบาท

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕