หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อนุพงษ์ ดาวทอง
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
อัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมในจังหวัดเชียงราย
ชื่อผู้วิจัย : อนุพงษ์ ดาวทอง ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วันชัย พลเมืองดี
  พระมหาพงษ์ประภากรณ์ วิสุทฺธิญาณเมธี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มกราคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการและลักษณะพุทธศิลป์ในเชียงราย อัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมในจังหวัดเชียงรายและวิเคราะห์คุณค่าของอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมในจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า

 

งานพุทธศิลป์ในจังหวัดเชียงรายมีพัฒนาการมาอย่างยาวนานโดยต่อสืบต่อจากงานพุทธศิลปกรรมล้านนาได้รับการผสมผสานงานศิลปะอย่างหลากหลายและได้รับอิทธิพลงานศิลปะต่างๆแต่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ตามยุคตามสมัยดังที่ได้เห็นกันในอดีตจนถึงปัจจุบัน

 

งานพุทธศิลป์ที่สำคัญของจังหวัดเชียงรายที่เห็นได้ชัดก็คือ งานพุทธศิลป์เมืองเชียงแสน โดยมีหลักฐานที่ปรากฏหลงเหลืออยู่หลายอย่าง เช่น งานประติมากรรมได้แก่ พระพุทธรูปเชียงแสน งานสถาปัตยกรรม ล้วนมีเอกลักษณ์เด่น โบสถ์ วิหาร อาคารก่ออิฐถือปูน วิหารสมัยเชียงแสนมีเอกลักษณ์ คือเป็นหลังคาที่แสดงโครงสร้างคือไม่มีฝ้าเพดาน สามารถมองเห็นเครื่องหลังคาได้ทุกชิ้น งานจิตรกรรม ช่วงยุคหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จะพบงานจิตรกรรมภาพวิถีชีวิต ประเพณี ของทางภาคเหนือที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

 

 

คุณค่าอัตลักษณ์งานพุทธศิลปกรรมมีความสัมพันธ์หลากหลายด้านอาทิ เช่น คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านหลักธรรมคำสอน การนำหลักธรรมถ่ายทอดในการสรรค์สร้างผลงานพุทธศิลปกรรม คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านทางด้านประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่บอกเรื่องราวจากอดีตสู่ปัจจุบัน คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านทางด้านสุนทรีย์ งานพุทธศิลปกรรมแห่งความสวยงาม คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านทางด้านสังคม สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านทางด้านเศรษฐกิจทำหน้าที่ในส่วนสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕