หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจตุรวิทย์ โฆสิตมงฺคโล (เชียงหนุ้น)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
วิเคราะห์คติเชิงปรัชญาในศิลปะน่าน : กรณีศึกษาเฉพาะวิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน
ชื่อผู้วิจัย : พระจตุรวิทย์ โฆสิตมงฺคโล (เชียงหนุ้น) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิโรจน์ วิชัย
  พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประเด็น คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของของศิลปะน่านและวิหารวัดภูมินทร์ ๒) เพื่อวิเคราะห์คติเชิงปรัชญาของวิหารวัดภูมินทร์ พบว่า

ศิลปะน่าน คือ ศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นในย่านเขตเมืองน่านภาคเหนือล้านนา ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและจากความคิดสร้างสรรค์จากช่างสกุลคนเมืองน่านเอง เพื่อสร้างมาให้เกิดความงามและความพึงพอใจและผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินคนเมืองน่าน ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ และวิหารวัดภูมินทร์ เป็นทรงจตุรมุข ลักษณะสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์เฉพาะ ที่รวมเอาโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ ไว้ในอาคารเดียวกัน ประตูไม้ทั้งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายโดยช่างฝีมือล้านนา แสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุคสมัยที่ผ่านมา ตามพงศาวดารเมืองน่าน สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๑๓๙ โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ในลักษณะการจำลองแผนภูมิจักรวาลตามความเชื่อแห่งพุทธศาสนา ภายในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องราวชาดก วิถีชีวิตตำนานพื้นบ้านและความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต สิ่งน่าสนใจ คือ บานประตูแกะสลักลึกเป็น ๓ ชั้น บนไม้สักทองแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ความหนาของไม้ประมาณ ๔ นิ้ว สลักเป็นลวดลายเครือเถา ที่ทั้งดอกและมีผลระย้า รวมทั้งสัตว์นานาชนิด มีพระประธานจตุรทิศ ปางมารวิชัย ๔ องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานอยู่ภายใน และมีนาคสะดุ้งขนาดใหญ่เทินพระอุโบสถไว้กลางลำตัว อันเปรียบเสมือนการอุ้มชูพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป

วิเคราะห์จากแนวคิดเชิงสุนทรียศาสตร์ ความงามและสิ่งที่งามทั้งในงานศิลปะและในธรรมชาติการเขียนภาพ แสดงออกทางสุนทรียภาพโดยศิลปินน่าน ศึกษาประสบการณ์ คุณค่าความงามและมาตรฐานในการวินิจฉัยแล้วลงมือวาดให้เห็นเป็นรูปธรรม เป็นความงามที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้

 

 

 

วิเคราะห์แนวคิดเชิงจริยศาสตร์ จิตรกรรมฝาผนังภายในวัด สอนชาวบ้านให้รู้จักทำความดี ผ่านเรื่องราวของชาดกเรื่องต่างๆ  เช่น เรื่องกรรม, เทวดา, กษัตริย์ที่เป็นสื่อระหว่างเทวดากับมนุษย์, วัฏฎะสงสาร, ความกตัญญู เป็นต้น

วิเคราะห์จากหลักพุทธปรัชญา ฝาผนังเรื่องราวของพุทธประวัติ คันธกุมารและเนมิราชชาดก เป็นนิทานชาดก ที่มุ่งสอนให้คนทำความดี ช่างวาดได้สอดแทรกภาพวิถีชีวิตของชาวน่านในอดีตไว้ด้วย

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕