หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโสภณธำรงกิตติ์ (กิติศักดิ์ สุทฺธจิตฺโต)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโสภณธำรงกิตติ์ (กิติศักดิ์ สุทฺธจิตฺโต) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากังวาล ธีรธมฺโม
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๒. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน ๕ วัดที่เป็นวัดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ วัดสามร้อยยอดหรือวัดตรีสตกูฎ วัดพุ วัดตาลเจ็ดยอด วัดหุบตาโคตร และวัดหนองข้าวเหนียว จำนวน ๓๘๐ คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งแบบปลายปิดและแบบปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการหาค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือ การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ๑๒ รูป/ท่าน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๓) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ คือ ด้านการพัฒนาศาสนสถาน (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๓) ด้านการพัฒนาศาสนบุคคลหรือบุคลากรของวัดในการให้บริการ (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๔) ด้านการการพัฒนากิจกรรมภายในวัด         (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๒)

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าเพศ มีผลต่อความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ในส่วนของอายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ ไม่มีผลต่อความคิดเห็นของประชาชน

๓. ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า สิ่งก่อสร้าง สาธารณูปการ บางอย่างมีความสวยงามแต่มองดูแล้วไม่เข้ากับบริบทของวัดที่ต้องอนุรักษ์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมไทยแต่เดิมไว้ และมัคคุเทศก์นำเที่ยวหรือวิทยากรในวัดมีน้อยไม่เพียงพอ อีกทั้งการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวไม่ทั่วถึง ไม่ทันสมัยเท่าที่ควร

ในส่วนของข้อเสนอแนะ พบว่าควรนำดำเนินนโยบาย 5ส. (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย) มาปรับใช้ ส่วนพระและมัคคุเทศก์ต้องมีทักษะภาษาที่สาม เช่น อังกฤษ จีน เป็นพื้นฐาน อีกทั้งการบริหารจัดการเงินจตุปัจจัยให้โปร่งใส ทั้งการได้มาและการกระจายลงในกิจกรรมที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสมเหตุสมผล

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕