หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิเชียร สิริวฑฺฒโน (ไกรฤกษ์ศิลป์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในตำราฉันท์วรรณพฤติ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิเชียร สิริวฑฺฒโน (ไกรฤกษ์ศิลป์) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  พระราชเวที
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวณิต วิงวอน
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ ธันวาคม ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

                 วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในตำราฉันท์วรรณพฤติ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ตำราฉันท์วรรณพฤติขึ้น
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า
รัชกาลที่ ๓ และเพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาการกวีนิพนธ์ ตามพระราชประสงค์รัชกาลที่ ๓ ที่ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นไกรสรวิชิตกราบทูลอาราธนาให้ทรงพระนิพนธ์ จารึกบนแผ่นศิลาติดไว้ที่เสาพระระเบียงพระอุโบสถชั้นใน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นับเป็นตำราฉันท์ไทยเล่มแรกที่สมบูรณ์ที่สุด โดยอาศัยคัมภีร์วุตโตทัย ฉบับภาษาบาลีเป็นแม่บท ตำราฉันท์วรรณพฤตินี้กล่าวถึงฉันท์๕๐ ชนิด ได้ทรงคัดเลือกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นหัวข้อในการทรงพระนิพนธ์
เนื้อหาของวิทยานิพนธ์แบ่งออกเป็น ๕ บท ดังนี้

บทที่ ๑ เป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมา
ของปัญหา ตลอดจนถึงวิธีดำเนินการวิจัยและประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย

บทที่ ๒ กล่าวถึงความ
เป็นมาของฉันท์ ที่มา ความหมาย ประเภทและเนื้อหาของฉันท์ที่ปรากฏในตำราฉันท์วรรณพฤติ

บทที่ ๓ ว่าด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในตำราฉันท์วรรณพฤติ บทที่ ๔ คุณค่าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในตำราฉันท์วรรณพฤติที่มีต่อสังคมไทย และบทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ โดยศึกษาจากต้นฉบับแผ่นศิลาจารึกตำราฉันท์วรรณพฤติที่วัดพระเชตุพน


                  ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในตำราฉันท์วรรณพฤติที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์นั้น ล้วนเป็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พุทธศาสนิกชนเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ตนเองและผู้อื่น ตำราฉันท์นี้มีเนื้อหาประกอบด้วยอคติ ๔ มิตรเทียม ๔ มิตรแท้ ๔ ศีล ๕อบายมุข ๖ กุศลกรรมบถ ๑๐ ภรรยา ๗ จำพวก สตรี ๒๐ จำพวก มงคล ๓๘ ประการ และ
ราชวสตีธรรม ซึ่งมีคุณค่าต่อสังคมไทยด้านการดำเนินชีวิต (การครองตน) ครอบครัว สังคมและ
เศรษฐกิจ การปกครองและพระพุทธศาสนา

 

Download :  254983.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕