หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายตรีรัตน์ ปิ่นประยงค์
 
เข้าชม : ๒๐๐๖๒ ครั้ง
การศึกษาบทบาทของอุบาสก-อุบาสิกา ในการบำรุงพระพุทธศาสนาศึกษาเฉพาะกรณี การบำรุงพระพุทธศาสนาของผู้ปฏิบัติงาน ๒๕๔๙
ชื่อผู้วิจัย : นายตรีรัตน์ ปิ่นประยงค์ ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  นายสนิท ศรีสำแดง
  พล.ต.ดร.วีระ วงศ์สรรค์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

การศึกษา บทบาทของอุบาสก - อุบาสิกา ในการบำรุงพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณี การบำรุงพระพุทธศาสนาของผู้ปฏิบัติงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สายงานธุรกิจระบบส่ง มีวัตถุประสงค์ ๑ ) เพื่อศึกษาเรื่องบทบาทอุบาสกอุบาสิกาในการบำรุงพระพุทธศาสนาตามที่ปรากฏ ในพระไตรปิฎก และอรรถกถา ๒ ) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สภาพการบำรุงรักษาพระพุทธศาสนา ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการของอุบาสกอุบาสิกา ที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.(ธส.) ๓ ) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมให้อุบาสกอุบาสิกา กฟผ.(ธส.) ได้บำรุงพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
     วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างจากประชากรในแต่ละกลุ่มโดยวิธีบังเอิญ (Accidental Random Sampling) ของพนักงานกฟผ. สายงานธุรกิระบบส่ง จำนวน ๔๑๑ คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยเชิงเอกสารพบว่าบทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในการบำรุงพระพุทธศาสนา เป้าหมายที่แท้จริงคือการ ทำให้พระศาสนามั่นคงเจริญเป็นที่พึ่งแก่ชาวโลกทั้งหลาย โดย อุบาสก อุบาสิกา จะต้อง ศึกษาและนำมาปฏิบัติ ให้ถูกต้อง ตามหลักพุทธธรรม ให้เกิดผลสูงสุดแก่ตนเอง พร้อมด้วยการอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ เพื่อการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา กล่าวคือ อุบาสก อุบาสิกา ต้องรับผิดชอบ ๑) ศึกษา
๒)ปฏิบัติ ๓)เผยแผ่ ๔)ป้องกันศัตรู ๕)บำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า
๑. ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสำคัญทางพระพุทธศาสนา ผู้ตอบแบบสอบถาม รำลึกถึงพระพุทธเจ้าในลักษณะเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่พัฒนาฝึกฝนตนจนเป็นอรหันต์ ร้อยละ ๖๔.๔๘เชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มนุษย์รู้จักพึ่งตนเอง ไม่ให้พึ่งสิ่งที่อยู่นอกตัว เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ร้อยละ ๘๔.๙๑ มีความเห็นว่าพระพุทธศาสนามีความจำเป็นต่อสังคมเพราะมนุษย์จะดำรงอยู่ได้อาศัยศีลธรรมและการพัฒนาจิตด้วย ร้อยละ ๖๔.๔๘
๒. ความเข้าใจเกี่ยวกับพระวินัยของพระสงฆ์ ของอุบาสก อุบาสิกา ผู้ตอบแบบสอบถามโดยรวม ส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกี่ยวกับพระวินัยพระสงฆ์ อยู่ในระดับมาก คือ ไม่ควรอย่างยิ่งที่บุรุษ-สตรี ชักชวนพระเล่นการพนัน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ บุรุษ-สตรีเรียนดิรัจฉานวิชาจากพระหรือบอกเดรัจฉานวิชาแก่พระ สตรี พูดประเล้าประโลม หรือด้วยการแต่งเนื้อแต่งตัวชะเวิกชะวากกับพระ พระประกาศตัวเป็นผู้วิเศษมีอิทธิฤทธิ์เหนือมนุษย์
๓. การปฏิบัติตนตามแนวทางพระพุทธศาสนาหรือบุญกริยา ของอุบาสก อุบาสิกาผู้ตอบแบบสอบถาม มีการปฏิบัติตนตามแนวทางพระพุทธศาสนาดังนี้ นับถือพระพุทธศาสนาด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อดำรงชีวิตที่สุขในปัจจุบัน ร้อยละ ๕๐.๖๑ จุดประสงค์ในการทำบุญให้ทานเพื่ออุทิศให้บรรพชน ร้อยละ ๖๑.๓๑ การประพฤติตนอยู่ในศีล ๕ ปฏิบัติเป็นบางครั้ง ร้อยละ ๕๗.๖๖ การนั่งวิปัสสนากรรมฐานและสมาธิปฏิบัติเป็นบางครั้ง ร้อยละ ๕๖.๙๓จุดประสงค์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและนั่งสมาธิเพื่อความสำเร็จในสิ่งปรารถนา ร้อยละ๕๑.๐๙ และการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนา (บุญกริยาวัตถุ ๑๐) ด้านทาน การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน โดยถวายแด่พระภิกษุ สามเณร สงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ที่มีความจำเป็น สนับสนุนบุคคลและกิจการที่ดีงาม สร้างสรรค์ เช่น มูลนิธิ และการบำเพ็ญอภัยทาน คือบำเพ็ญเมตตาการุณยธรรม ให้ความไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยการไม่รังแก ไม่เบียดเบียน ร้อยละ ๗๙.๕๙

 

 

Download :  254974.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕