หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาบรรจง จนฺทคุตฺโต (แผ่นทอง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
คุณภาพการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา: กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดสวนดอก จังหวัด เชียงใหม่(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาบรรจง จนฺทคุตฺโต (แผ่นทอง) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดเสน่ห์ ธมฺมวโร
  นางไฉไลฤดี ยุวนะศิริ
  ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

 

               การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขากรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนของศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และ ๒) เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา

     ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มประชากรในศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสวนดอกอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนและครูอาสาสมัคร จำนวน ๒๓ ท่าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียน จำนวน ๑๒๙ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๗๙.๖ และผู้ปกครอง จำนวน ๑๕๙ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๑ จำนวนรวมทั้งสิ้น ๓๑๑ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๖การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายข้อมูลตามสภาพจริงจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับผู้บริหาร ผู้ปกครอง และผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) การใช้ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เป็นเกณฑ์ โดยใช้การประเมินคุณภาพ ๓ ระดับ คือ ดี พอใช้ ควรปรับปรุงจากผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนของศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดสวนดอก ในด้านบริบท มีการกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์เป็นลายลักษณ์ในเอกสารชัดเจน และมีรายงานการประเมินโครงการเป็นประจำทุกปี ด้านปัจจัยนำเข้า มีอาคารสถานที่เพียงพอ มีบุคลากรที่ทำงานเสียสละ มีหลักสูตร/กฎระเบียบ มีวัสดุอุปกรณ์/สื่อการสอนและงบประมาณ ด้านกระบวนการ มีโครงสร้างการบริหารที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย การวัดผลและประเมินผล กิจกรรมสนับสนุนที่หลากหลาย และด้านผลผลิต มีการพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา การนำไปใช้ปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน (ภาวนา ๔) และมีผลกระทบต่อบ้าน/วัด/โรงเรียน ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดสวนดอกขาดการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ชุมชนและผู้ปกครองยังเข้ามามีส่วนร่วมน้อย ยังไม่มีแนวทางชัดเจนในการประเมินและวิจัยเกี่ยวกับความต้องการและประสิทธิภาพของการดำเนินงานและผลผลิต ทำให้ผู้บริหารขาดข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อพัฒนางาน และยังไม่มีการนำระบบประกันคุณภาพการศึกษามา
ใช้ในการพัฒนางานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงยังขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนการบริหารงานในระยะยาวผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา พบว่า โดย
ภาพรวมทั้งหมด ได้รับการประเมินคุณภาพในระดับดี เมื่อพิจารณาเรียงตามลำดับปัจจัย คือ
๑) ปัจจัยด้านผลผลิต หรือผลสัมฤทธิ์ (Product = P๒, outcome) ได้รับการประเมินคุณภาพในระดับดี เรียงตามลำดับตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดด้านผลกระทบต่อบ้าน/วัด/โรงเรียน ตัวชี้วัดด้านการนำไปใช้ปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน (ภาวนา ๔) และตัวชี้วัดด้านการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา
๒) ปัจจัยด้านบริบท (Context = C) ได้รับการประเมินคุณภาพในระดับดี เรียงตามลำดับตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดด้านวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดด้านการประเมินโครงการ
๓) ปัจจัยด้านปัจจัยป้อนเข้า (Input = I) พบว่า ได้รับการประเมินคุณภาพในระดับดี เรียงตามลำดับตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดด้านบุคลากร ตัวชี้วัดด้านหลักสูตร/กฎระเบียบ ตัวชี้วัดด้านสถานที่ตัวชี้วัดด้านวัสดุอุปกรณ์/สื่อการสอน และตัวชี้วัดด้านงบประมาณ ซึ่งได้รับการประเมินคุณภาพในระดับพอใช้๔) ปัจจัยด้านกระบวนการปฏิบัติ (Process = P๑) พบว่า ได้รับการประเมินคุณภาพในระดับดี เรียงตามลำดับตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการ ตัวชี้วัดด้านกิจกรรมสนับสนุน ตัวชี้วัดด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และตัวชี้วัดด้านการวัดผลและประเมินผล

Download : 255157.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕