หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการผจญ อาจาโร ( ทนันจง )
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน(๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการผจญ อาจาโร ( ทนันจง ) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธสุตาทร, ดร.
  ผศ.ดร.เทพประวิน จันทร์แรง
  พระมหาดวงจันทร์ คุตฺตสีโล, ดร.
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ เรื่อง ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล :  ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และบทบาทพระสงฆ์ในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยทำการศึกษาเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และ                พระลูกวัด ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน จำนวน ๖ ตำบล ๕๑วัด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า

เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และ              พระลูกวัด มีสภาพปัญหาในการบริหารจัดการวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ในระดับน้อย               ปานกลาง เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง  ทั้งองค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญ  และนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์การ ธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน โดยมุ่งให้เกิดความเป็นอิสระในการบริหารงาน  การลดการควบคุม  ให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายสถาบันที่ทำหน้าที่บริหารงานภาครัฐ  นอกจากจะต้องกำหนดบทบาทของตนอย่างชัดเจนแล้ว ควรมีความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ ต่อแนวทางการใช้อำนาจในการดำเนินงานวัดก็เช่นเดียวกันมีการนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในการบริหารงานจึงทำให้ปัญหาในการใช้หลักธรรมาภิบาลมีไม่มาก จึงมีระดับปัญหาอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลางเท่านั้น

จากการศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล พบว่า บทบาทของเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และ                   พระลูกวัด ในการบริหารจัดการวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ๑) ด้านการปกครอง ๒) ด้านการศึกษา ๓) ด้านสาธารณสงเคราะห์  ๔) ด้านสาธารณูปการ ๕) ด้านการเผยแผ่ ได้มีการนำหลักธรรมาภิบาล ซึ่งได้แก่ ๑) หลักนิติธรรม ๒) หลักคุณธรรม ๓) หลักความโปร่งใส ๔) หลักการมีส่วนร่วม ๕) หลักความรับผิดชอบ ๖) หลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับปานกลาง-มาก  ในพระสงฆ์ทุกระดับ ซึ่งบทบาทในการบริหารงานโดยใช้ธรรมาภิบาล เป็นแนวทางสำคัญ               ในการจัดระเบียบให้กับวัดและชุมชน  สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติ ภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต                ที่จะเกิดขึ้นในวัดและเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ                และกระแสโลกยุคปัจจุบัน

สำหรับการส่งเสริมให้เกิดการสร้างธรรมาภิบาลนั้น  มาจากความร่วมมือทั้งวัด และชุมชนรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้มีบทบาทในการวางรากฐาน และรักษากฎระเบียบ          ต่าง ๆ การสร้างธรรมาภิบาลนั้น จำเป็นต้องอาศัยระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีภาระรับผิดชอบภายใต้กฎหมาย  และนโยบายที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง            ที่ต้องมีการปฏิรูประบบการบริหารจัดการวัด เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบภายใต้กรอบของกฎหมาย ซึ่งจุดมุ่งหมายในการสร้างธรรมาภิบาลนั้น จะต้องพยายามปฏิรูปการบริหารจัดการให้ถูกต้องตามหลักเหตุผล และหน้าที่ มีระบบ               ความรับผิดชอบด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ และให้มีความโปร่งในการปฏิบัติงาน เป็นต้น

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕