หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางบัวครอง ชัยปราบ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
การศึกษาผลสัมฤทธิ์การฝึกปฏิบัติสมาธิตามหลักอานาปานสติสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบโมเดลซิปปา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ โรงเรียนชุมชนหนองเม็ก (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : นางบัวครอง ชัยปราบ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต,ดร.
  ดร. ประยูร แสงใส
  ผศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์  (๑) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การฝึกปฏิบัติสมาธิตามหลัก อานาปานสติสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL)  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  โรงเรียนชุมชนหนองเม็ก  อำเภอหนองสองห้อง  จังหวัดขอนแก่น (๒) เพื่อศึกษาการนำผลการฝึกปฏิบัติสมาธิตามหลักอานาปานสติไปพัฒนาพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  โรงเรียนชมชนหนองเม็ก   (๓) เพื่อศึกษาความเชื่อ ความศรัทธาต่อการฝึกปฏิบัติสมาธิตามหลักอานาปานสติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  โรงเรียนชมชนหนองเม็ก 

ผลการวิจัยพบว่า การฝึกสมาธิตามหลักอานาปานสติเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาจิตใจของนักเรียนให้มีสติมั่นคงไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่มากระทบ เพราะมีหลักในการควบคุมจิตใจและยังเป็นการจัดระเบียบความคิดของตนเอง สามารถนำใช้ในการดำรงชีวิต เช่น การศึกษา การทำงาน และการตัดสินใจปัญหาต่างๆ เป็นต้น รูปแบบการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบโมเดลซิปปา เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ทั้งทางร่างกายสติปัญญา อารมณ์ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม โดยภาพรวม การจัดกิจกรรมด้วยวิธีดังกล่าวทำให้นักเรียนมีโอกาสสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

                      พัฒนาการพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนหลังการปฏิบัติอานาปานสติ ด้านการตอบแทนพระคุณต่อบิดามารดา ร้อยละ ๑๐๐ การให้อภัยผู้อื่น ร้อยละ ๙๑.๕๕ ความสำรวมในกิริยามารยาท ร้อยละ ๘๕.๙๒ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ร้อยละ ๘๓.๑๐ และการเสพสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ ยาบ้า ร้อยละ ๗๓.๒๔ ตามลำดับ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุดทุกข้อ

                ส่วนความเชื่อศรัทธาต่อการฝึกปฏิบัติสมาธิตามหลักอานาปานสติ หลังการฝึกปฏิบัติสมาธิ นักเรียนเชื่อในกฎแห่งกรรม ความคิดในการทำความดี  ร้อยละ  ๙๑.๕๕ เท่ากัน ความอดทนในการทำกิจกรรมต่างๆ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๙๒ มีความสุขกายสุขใจ ร้อยละ ๘๔.๕๑ ศรัทธาต่ออานิสงส์การเจริญอานาปานสติอย่างสม่ำเสมอ และการให้ความสำคัญของการควบคุมสติ ร้อยละ ๘๑.๖๙ เท่ากัน ความศรัทธาต่อพระสงฆ์ ร้อยละ ๘๐.๒๘ การปฏิบัติธรรมสามารถช่วยให้มีสติหรือแก้ปัญหาชีวิตได้ ร้อยละ ๗๘.๘๗ ศรัทธาต่อหลักธรรม ร้อยละ ๗๖.๒๔ ตามลำดับ ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุดทุกข้อ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕