หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูใบฎีกาโสภา กิจฺจสาโร (จันทร์เพ็ง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
การประยุกต์หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้สูงวัยในเขตตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูใบฎีกาโสภา กิจฺจสาโร (จันทร์เพ็ง) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ดร.
  ดร. อุดร จันทวัน
  รศ.ปกรณ์ คุณารักษ์
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้    มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) สภาพปัญหาของผู้สูงวัย ในเขตตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๒) การประยุกต์หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้สูงวัย ในเขตตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิจัยภาคสนาม โดยวิธีการสัมภาษณ์ ผลจากการวิจัย พบว่า

                  ผู้สูงวัย คือ บุคคลที่สูงวัยตามสภาพของอายุที่เปลี่ยนไปจากที่แข็งแรงเป็นอ่อนแอเป็นต้น สภาพทางจิตใจที่มีสติปัญญาลดน้อยลง สภาพทางสังคมที่ถูกลดบทบาทลง ผู้สูงวัยมักจะมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง ความปราดเปรื่องก็เช่นกัน โดยในปัจจุบันมีการตั้งชมรมผู้สูงวัยขึ้นมาเพื่อให้มีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ขณะเดียวกัน ผู้สูงวัยในตำบลบ้านหว้าก็ได้ประสบกับปัญหาของผู้สูงวัยเช่นเดียวกัน ได้แก่ ปัญหาในด้านร่างกาย  ปัญหาด้านครอบครัวและสังคม ปัญหาด้านจิตใจ และปัญหาในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

                  ผู้สูงวัยได้ปฏิบัติตนเองเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นทั้งทางครอบครัว ร่างกายและจิตใจ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ได้แก่ ผู้สูงวัยได้ปฏิบัติตนเพื่อให้เข้าถึงความจริงหรือคำสอนที่เป็นแก่นพุทธธรรม ซึ่งจะช่วยให้ตนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข กล่าวคือ  ผู้สูงวัยได้ประยุกต์หลักพุทธธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีดังต่อไปนี้  (๑) หลักไตรลักษณ์ ๓ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่ใช่ตัวตน (๒) หลักอริยสัจ ๔ คือ รู้ปัญหา รู้เหตุของปัญหา รู้วิธีแก้ปัญหาและรู้ผลดีของการแก้ปัญหา (๓) หลักบุญบาป/หลักกรรมมีความเชื่อว่าทำบุญได้สู่สุคติทำชั่วไปสู่ทุคติ แล้วรีบบำเพ็ญตนด้วยทาน ศีลและภาวนา (๔) หลักพรหมวิหารธรรม รู้จักมีเมตตาต่อสมาชิกในครอบครัวและรู้จักวางตนอย่างเหมาะสม (๕) ปฏิบัติตนในหลักเบญจศีล-เบญจธรรม เช่น ไม่ทำร้ายคนและสัตว์อื่น ไม่ดื่มสิ่งมึนเมา ขณะเดียวกัน ก็มีเมตตา ประกอบอาชีพสุจริต (๖) หลักอบายมุข ๖ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการพนัน เช่น ไม่เล่นหวย และ (๗) หลักสังคหวัตถุ ๔ รู้จักช่วยเหลือผู้สูงวัยด้วยกัน รู้จักพูดให้กำลังใจ รู้จักบำเพ็ญสาธารณกุศล และรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง นอกจากนั้น  ผู้สูงวัยได้ปฏิบัติตนตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือ มีการพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรมอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อแก้ปัญหาในด้านต่างๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาร่างกายหรือสุขภาพ และปัญหาด้านจิตใจ  ดังนั้น บุตรหลาน จึงควรเข้าใจในการปฏิบัติต่อท่านว่าผู้สูงวัยว่าสิ่งใดควรให้และไม่ควรให้ เช่น งดเครื่องดื่มมึนเมา ให้ออกกำลังกายเบาๆ พูดให้เสียกำลังใจ ให้ความรักและความเคารพต่อท่าน คือ ดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจ

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕