หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายพรชัย พันธ์ไสว
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์นิโรธสมาบัติในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นายพรชัย พันธ์ไสว ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร.
  ดร.ประพันธ์ ศุภษร
  ว่าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

 

ศึกษาวิเคราะห์นิโรธสมาบัติในพระพุทธศาสนาเถรวาท  มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ()  เพื่อศึกษาวิเคราะห์นิโรธสมาบัติในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท () เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทัศนะของภิกษุสงฆ์และนักวิชาการพระพุทธศาสนาในประเทศไทยและศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับนิโรธสมาบัติในสังคมไทย

      ผลการวิจัยพบว่า นิโรธสมาบัติ  คือ  ลักษณะ  สภาวะ  อาการดับลงของสังขาร ๓ 
อันได้แก่  วจีสังขาร  กายสังขาร  จิตตสังขาร   ซึ่งสัญญาและเวทนาดับลงไม่มีเหลือ  สภาวะนั้นไม่มีจิตในขณะที่อยู่ในนิโรธสมาบัติ
  เจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นพบนิโรธสมาบัติเป็นบุคคลแรกในโลกในราตรีที่ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ดังนั้นนิโรธสมาบัติจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นพยานการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คุณสมบัติของบุคคลที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้นั้นจะต้องเป็นพระอริยะบุคคล     ประเภทเท่านั้น คือ พระอรหันต์และพระอนาคามีผู้มีความชำนาญในสมาบัติ ๘  

         ทัศนะของภิกษุสงฆ์ต่อนิโรธสมาบัติในประเทศไทย  พบว่าพระภิกษุผู้ปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนในประเทศไทยที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคมไทยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องนิโรธสมาบัติสอดคล้องตามที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ชั้นรอง  เนื่องจากพระเถระและนักวิชาการเหล่านั้นได้ผ่านการศึกษาเรียนรู้ในพระพุทธศาสนามาอย่างเป็นระบบ  เพราะอิทธิพลของรูปแบบวิธีการสืบนำหลักการและคำสอนที่เป็นจารีตปฏิบัติที่เคร่งครัดในฝ่ายเถรวาท ส่วนนักวิชาการพระพุทธศาสนาก็มีท่าทีต่อเรื่องนิโรธสมาบัติในประเด็นของ  ลักษณะ  สภาวธรรม      มีความสอดคล้องตามที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกและเอกสารชั้นรองเช่นเดียวกัน


                ความเข้าใจของพุทธศาสนิกชนไทยในเรื่องนิโรธสมาบัติสามารถแยกออกได้เป็น  ๒ กลุ่มคือ   (๑)  กลุ่มพุทธศานิกชนที่เข้าใจเรื่องนิโรธสมาบัติตามความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในพระพุทธศาสนาเพราะการได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง   (๒)  กลุ่มพุทธศาสนิกชนที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องนิโรธสมาบัติที่ถูกต้อง  เพราะการได้รับความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากความเชื่อและประเพณีปฏิบัติที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕