หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุพัฒน์ กลฺยาณธมฺโม (ศรีชมชื่น)
 
เข้าชม : ๒๐๐๕๒ ครั้ง
พระพุทธเจ้า : บทบาทแล้วหน้าที่ในฐานะพระบรมครู (๒๕๔๕)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุพัฒน์ กลฺยาณธมฺโม (ศรีชมชื่น) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีรัตนดิลก
  รศ.ดร.จินดา จันทร์แก้ว
  ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มกราคม ๒๕๔๕
 
บทคัดย่อ

                การศึกษาวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปฎิปทาของพระพุทธเจ้าในแง่บทบาทและหน้าที่ในฐานะเป็นพระบรมครู และหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งบทบาทและหน้าที่ความเป็นครูของพระพุทธเจ้าในบริบทของครูในสังคมไทยปัจจุบัน

                การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเน้นวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๕ บท และในแต่ละบทนั้น มีเนื้อหา ดังนี้

                บทที่ ๑ บทนำ บทที่ ๒ ศึกษาบทบาทและหน้าที่ครูในสมัยพุทธกาลที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ในประเด็นเหล่านี้ คือ ความหมาย ความสำคัญและประเภทของครู ตลอดทั้งบทบาทและหน้าที่ของพระพุทธเจ้าในฐานะพระบรมครู บทที่ ๓ ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของครู ทั้งในส่วนที่ส่งเสริมและเป็นปฏิปักษ์ บทที่ ๔ ศึกษาวิเคราะห์บทบาทและหน้าที่ความเป็นครูของพระพุทธเจ้าในบริบทของครูในสังคมไทยปัจจุบัน บทบาทและหน้าที่ครูตามทัศนะนักวิชาการปัจจุบัน หร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาและส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ความเป็นครูตามหลักพุทธธรรม บทที่ ๕ สรุปผลของการวิจัย บทวิจารณ์ และข้อเสนอแนะ

                ผลจากการวิจัยพบว่า ครู หมายถึง บุคคลผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ และเป็นผู่ที่อยู่ในฐานะกัลยาณมิตร คือ เป็นผู้นำทางสติปัญญาทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้เรียน ดังนั้น ครูพึงมีความพร้อมอยู่เสมอในการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถที่ตนเองมีอยู่แก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาสติปัญญาให้สูงขึ้น และยกวิญญาณของศิษย์ทั้งหลายให้สูงขึ้นเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม เพราะฉะนั้น ครู จึงมีความสำคัญมากในฐานะปูขนัยบุคคลและแม่พิมพ์ของศิษย์ เพราะผู้เรียนจะมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหนเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับครูผู้ทำหน้าที่หล่อหลอม ด้วยเหตุนี้ ครูจึงมีจิตสำนึกในการแสดงบทบาทและปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นครูให้มาก และพึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของความเป็นครู คือ จะต้องเป็นบุคคลผู้มีความหนักแน่นในด้านความรู้ ความสามารถและคุณธรรม กล่าวคือ พึงดำรงตนอยู่ในพรหมวิหารธรรม สังคหวัตถุธรรมและอิทธิบาท เป็นต้น หลีกเลี่ยงการประพฤติที่ไม่เหมาะสม เช่น อบายมุข มีการเล่นการพนัน คอรัปชั่นในหน้าที่การงานและคบเพื่อนชั่ว เป็นต้น

                ในทัศนะของพระพุทธศาสนา ได้แบ่งครูผู้สอนออกเป็นหลายประเภท ตามกำลังแห่งสติปัญญา ความรู้ความสามารถ แหละหน้าที่ของครูประเภทนั้นๆ เช่น ศาสดาติตถังกร อาจารย์ และทิศาปาโมกข์ เป็นต้น ซึ่งท่านเหล่านั้น ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหมือนกัน กล่าวคือ มีหน้าที่ในการให้การศึกษาแก่ศิษย์ ในบรรดาครูเหล่านั้น พระพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นเลิศ คือ ทรงเป็นพระบิดาแห่งครูทั้งหลาย เพราะพระองค์ทรงมีคุณสมบัติหลายประการทั้งในด้านบุคลิกภาพและคุณธรรม ทรงดำรงอยุ่ในฐานะพระบรมครู กล่าวคือ เป้นจอมศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงมีเทคนิคและวิธีการสอนเป็นเลิศเพื่อให้ชาวโลกได้บรรลุธรรม พุทะจริยาเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทและหน้าที่ของพระองค์ที่ทรงกระทำในฐานะบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่มวลมนุษยชาติ เหล่าพระประยูรญาติและในฐานะความเป็นพระพุทธเจ้า ปฏิปทาของพระพุทะองค์เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นบทบาทและหน้าที่ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นพระบรมครูของโลกอย่างแท้จริง

Download : 254506.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕