เข้าชม : ๒๐๐๑๕ ครั้ง |
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระครูปลัดสุรศักดิ์ วิริยธโร (คงรักษา) |
ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๘/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม, ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.ม., M.A., Ph. D. (Pol. Sc.) |
|
พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผศ., ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม. (พัฒนาสังคม),รป. ม. (การจัดการความขัดแย้ง) |
|
อาจารย์ ดร. ยุทธนา ปราณีต พธ.บ. (รัฐศาสตร์), ร.บ., M.A. (Politics), Ph.D. (Pol.Sc.) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
2555 |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ : (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (๒) เพื่อศึกษาหลักเบญจศีล เบญจธรรม ในพระพุทธศาสนา และ (๓) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม ผลการวิจัยพบว่าทรัพยากรมนุษย์ตามทฤษฎีตะวันตกมีความหมายว่า มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ มีค่าสูงสุดในการพัฒนาองค์การ องค์การจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์ ส่วนในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงการเป็นผู้ฝึกตนตามหลักศีลธรรม พระพุทธเจ้าทรงฝึกพระองค์เองได้อย่างประเสริฐแล้วทรงฝึกผู้อื่น ตามบุคคลผู้ฝึกตนจะสามารถพัฒนาตนให้เป็นผู้มีคุณธรรมและศีลธรรมในการดำเนินชีวิต โดยนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดประสิทธิภาพ หลักธรรมดังกล่าวได้แก่ เบญจศีล คือ ศีล ๕ เมื่อปฏิบัติตามศีล ๕ ถือว่าเป็นผู้มีศีล ส่วนคำว่าเบญจธรรมมีความหมายเดียวกับ ‘กัลยาณธรรม’ หมายถึง ธรรม ๕ ประการ ที่ดี สะอาด เพราะกำจัดธรรมที่ไม่สะอาด คือราคะ โทสะ โมหะได้ เป็นคุณธรรมคู่กับเบญจศีล ถ้าบุคคลถือปฏิบัติศีล ๕ ต้องปฏิบัติเบญจธรรมด้วย เบญจศีลเป็นข้อที่ควรงดเว้น ส่วนเบญจธรรมเป็นข้อควรปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความสงบสุข สามัคคี เอื้อเฟื้อต่อกัน นับเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืน
ดาวน์โหลด |
|
|