หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสาครกิจจานุกูล (วิศิษฐ จนฺทโน)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขต อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสาครกิจจานุกูล (วิศิษฐ จนฺทโน) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม, ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.ม., M.A., Ph. D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผศ., ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม. (พัฒนาสังคม),รป. ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์ ดร. ยุทธนา ปราณีต พธ.บ. (รัฐศาสตร์), ร.บ., M.A. (Politics), Ph.D. (Pol.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

         

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่ต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มตัวอย่างพุทธศาสนิกชนทั้งหมด ๓๘๔ คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t–test)สำหรับตัวแปรที่มี ๒ ค่า และทดสอบค่าเอฟ (F-test) หรือความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) สำหรับตัวแปรที่มี ๓ ค่าขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างหลายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

 

 

 

 

 

               ผลการวิจัยพบว่า

            ๑. ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า พุทธศาสนิกชนมีความคิดเห็นต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ ในภาพรวมอยู่ระดับมากมีค่าเฉลี่ย ( = ๓.๕๐)

            ๒. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พุทธศาสนิกชนที่มีเพศและวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพุทธศาสนิกชนที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

            ๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ด้านสังคม พระสงฆ์ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการที่พระสงฆ์จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในหลาย ๆ ด้าน ดังเช่น ด้านเศรษฐกิจ คือ ขาดการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรของคณะสงฆ์เอง รวมทั้งจากหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกันด้วย ด้านวัฒนธรรม ประชาชนไม่มีความเข้าใจในการที่พระสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านวัฒนธรรม เช่น การอนุรักษ์โบราณสถานเป็นต้น            ด้านสาธารณสุข ขาดการสนับสนุนและติดต่อประสานงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวงการแพทย์เพราะได้รับความร่วมมือน้อยหรือไม่ได้รับความร่วมมือเลย หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยจึงขาดอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการช่วยเหลือ หรือพัฒนาชุมชนในด้านสาธารณสุข ประการสุดท้ายใน  ด้านสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ในการให้ความสะดวกแก่พระสงฆ์ในการอบรมหรือในการช่วยเหลือพัฒนาชุมชนมีน้อย ดังนั้น พระสงฆ์ต้องแสดงศักยภาพในฐานะผู้นำชุมชนเข้าไปมีบทบาทและสงเคราะห์ประชาชนจนเป็นที่ยอมรับของบุคคลโดยทั่วไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕