หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิลาศกาญจนธรรม (เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๙ ครั้ง
การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ ของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิลาศกาญจนธรรม (เล็ก สุธมฺมปญฺโญ) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม, ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.ม., M.A., Ph. D. (Pol. Sc.)
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ – ๒, น.ธ.เอก, พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง), ศศ.ม.(พัฒนาสังคม)
  อาจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต พ.ม.ช., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Public. Admint.)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

      การศึกษาวิจัยเรื่อง การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรมของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี  มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ (๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระสงฆ์ ที่มีต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ ของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี (๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ ที่มีต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ ของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ ของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่พระภิกษุในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน ๒๐๑ รูป ซึ่งผู้ศึกษาทำการสำรวจ (Survey Research) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัยพบว่า

              การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ ของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี นั้น การวิจัยแบ่งได้ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกคือศึกษาความคิดเห็น ซึ่งผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ ว่าอยู่ในระดับ “มาก” (๔.๓๐ จาก ๕) และพิจารณาผลแยกตามหัวข้อธรรมย่อยทั้ง ๗ ข้อก็พบว่า หัวข้อที่เกี่ยวกับการให้ความเคารพผู้อาวุโสกว่า และหัวข้อที่เกี่ยวกับการประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ได้รับคะแนนความคิดเห็นในระดับ “มากที่สุด” (๔.๖๓ และ ๔.๖๐) นอกนั้นอีก ๕ หัวข้อย่อยแม้มีคะแนนไม่ค่อยต่างกัน แต่จัดอยู่ในระดับที่ “มาก” ทุกหัวข้อ โดยมีหัวข้อย่อยเกี่ยวกับการหมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย์ และหัวข้อเกี่ยวกับการยินดีในเสนาสนะป่า มีคะแนนน้อยที่สุด (๓.๘๓ และ ๓.๘๘)

              ส่วนที่สองศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความคิดเห็น พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างของความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญเด่นชัดคือ ปัจจัยด้านการศึกษาสามัญ (sig.= .30)  ส่วนปัจจัยด้านการศึกษาทางธรรม(sig.=.014) และปัจจัยด้านพื้นที่การปกครอง (sig. = .01) แม้ผลทางสถิติจะระบุว่าส่งผลให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่เนื่องจากมีการกระจุกตัวของกลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาสามัญถึงร้อยละ ๕๘.๒ อยู่ในพื้นที่ปกครองเดียวกันคือตำบลท่าขนุน เขต ๒ จึงทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นเพราะทั้ง ๒ ปัจจัยส่งผลร่วมกัน หรือเป็นเพราะปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป จึงจะสามารถสรุปได้ ส่วนปัจจัยด้านอายุ แม้มีผลต่อความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญ  (sig. = .001) แต่เมื่อพิจารณาดูว่าการกระจุกตัวของประชากรที่อายุ ๒๐ – ๓๐ ปี ในช่วงพรรษาไม่เกิน ๕ พรรษาอย่างมากผิดปกติ และเมื่อพิจารณาช่วงเวลาการเก็บข้อมูลที่อยู่ในช่วงเข้าพรรษา จึงอนุมานได้ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวมีกุลบุตรบวชมาใหม่เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดกลุ่มพระใหม่ที่ยังไม่ค่อยได้ศึกษาเล่าเรียนธรรม มากกว่าในช่วงเวลาที่ไม่อยู่ในพรรษา จึงส่งผลให้พระบวชใหม่ ที่อยู่ในกลุ่มอายุ ๒๐ – ๓๐ ปีดังกล่าว มีความคิดเห็นที่แตกต่างจากพระเก่าที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ ๓๐ – ๔๐ อย่างมีนัยสำคัญ (sig. = .001) จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่าปัจจัยด้านอายุ มีผลต่อความคิดเห็น จนกว่าจะมีการศึกษาเพิ่มเติมในช่วงนอกพรรษา

              ส่วนที่สาม ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ ของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี  คือ ๑) ควรมีการประเมินผลการบริหารงานของพระสังฆาธิการ โดยให้คณะสงฆ์นอกพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการประเมินอย่างเป็นกลาง ๒) ควรจัดกิจกรรม สัมมนา อบรม เพื่อให้เกิดการพบปะกันระหว่างพระภิกษุ ๓)  เจ้าอาวาสควรให้การสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม แผนกบาลี และทางโลก แก่พระภิกษุ-สามเณร อย่างเต็มความสามารถ ๔) ส่งเสริมให้เจ้าอาวาสเปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการวัด โดยนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาวัดให้มากขึ้น เป็นต้น ๕) ควรมีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ระหว่างวัดและชุมชน  ๖)  ควรดูแลสอดส่องพระภิกษุ-สามเณร ภายในวัดอย่างทั่วถึง

 
ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕