หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาประจักษ์ กิตฺติเมธี (ทองดาษ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๖ ครั้ง
การบริหารงานวิชาการสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่น กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาประจักษ์ กิตฺติเมธี (ทองดาษ) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ปธ.๓, พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิน งามประโคน พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
  ผศ.บุญเลิศ จีรภัทร์ วท.บ., พบ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                      การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่น กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ ของสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่น กรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีปัจจัยพื้นฐานต่างกัน และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ในสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีดีเด่น กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่น กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๔๕ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (
S.D.) ค่าที (t-test) และค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA)

                     

                      ผลการวิจัยพบว่า

                      ๑.     การบริหารงานวิชาการ สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่น กรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการวัดและประเมินผล (๓.๗๗) ส่วนด้านอื่นๆผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นในระดับปานกลางทุกด้าน ด้านที่ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นในระดับปานกลาง ๓ อันดับแรก คือ ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ (๓.๔๒) ด้านการจัดการเรียนการสอน (๓.๔๐) และด้านสื่อการเรียนการสอน (๓.๒๐) ตามลำดับ ส่วนด้านที่อยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ ด้านการนิเทศภายใน (๒.๙๖) และเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (๓.๓๐)

                      ๒.     ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่น กรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีปัจจัยพื้นฐานต่างกันจำแนกตามตำแหน่ง พรรษา วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาทางโลก โดยภาพรวม  พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  จำแนกตามอายุ และประสบการณ์ในตำแหน่ง โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ 

                      ๓.     ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู
ในสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีดีเด่นกรุงเทพมหานคร สามารถแยกเป็นรายด้านมีรายละเอียดดังนี้ คือ   ๑) ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ สำนักเรียนควรจัดหลักสูตรเสริมภายในสำนักเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เช่น หลักสูตรการเทศน์ หลักสูตรภาษาต่างๆ เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๐   ๒) ด้านการจัดการเรียนการสอน สำนักเรียนควรจัดการเรียนการสอนให้หลากหลาย ไม่ควรอยู่แต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๘
๓) ด้านสื่อการเรียนการสอน สำนักเรียนควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทันสมัย เช่น โปรเจคเตอร์ เพื่อชักจูงความสนใจของผู้เรียนให้มากกว่านี้ คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๔   ๔) ด้านการวัดและประเมินผล สำนักเรียนควรประเมินผู้เรียนหลายๆ ด้าน เช่น ความรู้ ความประพฤติ คิดเป็น
ร้อยละ ๑๓.๑   ๕) ด้านห้องสมุด สำนักเรียนควรสนับสนุนให้เกิดการใช้ห้องสมุดให้มาก คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๐   ๖) ด้านการนิเทศภายใน สำนักเรียนควรจัดอบรมครูเป็นประจำทุกปี เพื่อเพิ่มความรู้และเทคนิคการสอนใหม่ๆแก่ครูผู้สอน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๒

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕