หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางอาภรทิพย์ สมบัติบริบูรณ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๗ ครั้ง
การศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อจิตบุญกุศลของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตายหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชื่อผู้วิจัย : นางอาภรทิพย์ สมบัติบริบูรณ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร., พธ.ม(การสอนสังคม),พธ.ม, (ภาษาอังกฤษ), M.A.(Psy), Ph.D.(Psy).
  ผศ.ดร. สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, น.ธ.เอก, พ.ม., พธ.บ. (ครุศาสตร์),พธ.ม. (การบริหารการศึกษา), M.A., Ph.D. (Psychology)
  ผศ.ดร. เริงชัย หมื่นชนะ, ป.ธ.๗., พธ.บ.. (ครุศาสตร์)M.Ed. (Teacher & Higher Education), Ph.D. (Educational & Guidance Psychology)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒) เพื่อศึกษาจิตบุญกุศลของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ  ๓) เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อจิตบุญกุศลของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย        ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตสาขาชีวิตและความตาย รุ่นที่ ๑ ถึงรุ่นที่ ๔  จำนวน ๑๐๖ รูป/คน  โดยใช้แบบสอบถามทำการรวบรวมข้อมูล จำนวน ๑๐๖ ฉบับ ได้รับกลับคืนมาที่สมบูรณ์ จำนวน ๗๓ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๘๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

๑.  ปัจจัยทางจิตสังคมของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก  ปัจจัยทางจิต ได้แก่ ด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม และด้านลักษณะมุ่งอนาคต อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสุขภาพจิต อยู่ในระดับปานกลาง  และปัจจัยทางสังคมทุกด้าน ได้แก่ การรับรู้ปทัสถานทางสังคม การเห็นแบบอย่าง และการสนับสนุนจากคนรอบข้าง อยู่ในระดับมาก

๒.  จิตบุญกุศลของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก หมวดทาน และหมวดศีล ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนหมวดภาวนา เกือบทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านธัมมัสสวนมัย อยู่ในระดับมากที่สุด

๓.  ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อจิตบุญกุศล โดยรวม ของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย การรับรู้ปทัสถานทางสังคม และการเห็นแบบอย่าง

     ๓.๑  ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อจิตบุญกุศล หมวดทาน ของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ การเห็นแบบอย่าง

     ๓.๒  ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อจิตบุญกุศล หมวดศีล ของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ การเห็นแบบอย่าง

     ๓.๓  ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อจิตบุญกุศล หมวดภาวนา ของนิสิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย การเห็นแบบอย่าง และลักษณะมุ่งอนาคต

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕