หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Phramaha Kimyi Anavilo (You)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบการคบมิตรตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาขงจื้อ
ชื่อผู้วิจัย : Phramaha Kimyi Anavilo (You) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๕/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโฆสิตพุทธิศาสตร์
  บุญมี แท่นแก้ว
  กฤต ศรียะอาจ
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  (๑) เพื่อศึกษาการคบมิตรตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการคบมิตรตามหลักคำสอนของศาสนาขงจื้อ และ(๓) เพื่อเปรียบเทียบการคบมิตรตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาขงจื้อ  การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร  ผลการวิจัยพบว่า

การคบมิตรตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ การคบคนที่มีเมตตาต่อกัน  คุ้นเคย  รักใคร่สนิทสนม  มีความจริงใจ  เอื้อเฟื้อประโยชน์ต่อกัน  ระหว่างบุคคลที่เข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์  ต้องอ่าน  ต้องดู  เพื่อใช้ในการอุปโภคประจำวัน  หรือหมายถึงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จึงถือว่าเป็นมิตรที่มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน  ถ้าได้ทั้งบุคคลเป็นมิตรที่ดีงามและได้สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ดีก็ชื่อว่าเป็นคนที่คบมิตรที่ดี  เรียกว่าผู้มี  “กัลยาณมิตร”

การคบมิตรตามหลักคำสอนของศาสนาขงจื้อ คือ การมีเมตตาระหว่างคนกับคน เช่น เมตตากับพ่อแม่เป็นความกตัญญู  เมตตากับพี่น้องเป็นความผูกพัน เมตตากับสามีภรรยาเป็นความรัก  เมตตากับลูกเป็นความหวังดี เมตตากับราชาคือความภักดี เมตตากับสหายคือความเชื่อใจ และเมตตากับคนอื่นคือความจริงใจ

เปรียบเทียบการคบมิตรตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาขงจื้อ  พบว่า

๑) การคบมิตรในทัศนะของพระพุทธศาสนามุ่งการคบหาคนดี คนที่ฉลาดมีความรู้ และเป็นสัตบุรุษ คือ คนมีหลักธรรมของคนดีเป็นวัตรปฏิบัติ ส่วนในทัศนะของศาสนาขงจื้อ การคบมิตรคือการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับบุคคลโดยอาศัยเมตตาธรรมเป็นเครื่องประสาน

๒) บริบทเรื่องการคบมิตร ทั้งสองศาสนามีทัศนะเรื่องการคบมิตรในบริบทเหมือนกัน คือ บริบททางการเมือง บริบททางสังคม และบริบททางเศรษฐกิจ

๓) มิตรในศาสนาทั้ง ๒ มีประเภทและลักษณะเหมือนกัน ได้แก่ มิตรที่ดี คือ มิตรที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งด้านกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม และมิตรชั่ว คือ คนที่คิดเอาแต่ประโยชน์ตน

๔) การคบมิตรตามหลักคำสอนในศาสนาทั้งสองนั้น อยู่ที่การสร้างสัมพันธภาพระหว่างมิตรด้วยการใช้ใจเป็นเครื่องประสาน คือ การมีความซื่อสัตย์ต่อกัน มีความจริงใจต่อกัน อันก่อให้เกิดความกลมเกลียวเป็นบ่อเกิดแห่งความสมานฉันท์ เมื่อทำได้ดังนี้ ย่อมก่อให้เกิดพลังมหาศาลที่สามารถบันดาลให้กิจการงานต่าง ๆ บรรลุได้ดังหวัง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕